การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียน ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

กนกพร พรหมสุวรรณ
อริยพร คุโรดะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายและผู้ให้ข้อมูลพื้นฐานในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ได้แก่ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่กำลังฝึกประสบการณ์ขั้นเต็มรูป ตรวจสอบความสอดคล้องและความเป็นไปได้ของหลักสูตรฝึกอบรม โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านจิตตปัญญาศึกษา ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยการศึกษาภาคสนามกับกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มีองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ (2) เนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ (3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (4) การประเมินผลการเรียนรู้ 2) หลักสูตรฝึกอบรมสมรรถนะการจัดการชั้นเรียนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความรู้ความเข้าใจ คือ การอธิบายแนวทางการจัดการชั้นเรียนทั้งด้านกายภาพและจิตวิทยาอย่างถูกต้อง (2) ทักษะ คือ จัดชั้นเรียนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้อย่างน่าอยู่-น่าเรียน มีสัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียน และให้การช่วยเหลือดูแลนักเรียนได้อย่างเหมาะสม (3) คุณลักษณะส่วนบุคคล คือ ความแจ่มชัด, ความเปิดกว้าง, พลังเกื้อหนุน, การเข้าถึงใจ, ความสงบตั้งมั่น และ เจตคติที่ดีต่อการจัดการชั้นเรียน

Article Details

How to Cite
พรหมสุวรรณ ก., & คุโรดะ อ. (2021). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียน ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1079–1090. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/248581
บท
บทความวิจัย

References

Chansirisira, P. (2017). Developing Core Competency and Performance Efficiency of Government Teachers in Northeastern Thailand. Journal of Suthiparithat, 8(100), 144-158.

Deetana, S. (2019). Pre-Service Teachers. Focus Group. October, 17.

Donkarsin, P. (2018). Development of Enhancing Competency Program in Learning Management by Child Centered for Schools Student in Secondary Educational Service Area Office 24. (Master’s Thesis). Mahasarakham Uninversity. Mahasarakham.

Janpong, J., & Panitpalinchai, T. (2017). Development of Activities to Enhance the Virtues of the Communication Students According to the Concept of Spiritual Education. Journal of Humanities and Social Science, 23(3), 94-106.

Kaen-In, T. (2018). Associate Professor. Focus Group. December, 24.

Khongterm, P. (2019) Senior Professional Level Teachers. Interview. June, 20.

Longphimai, S. (2017). Development Guidelines to Enhance Teachers’ Competency in the Learning Centered of Non-Formal and Informal Education in Districts in Mahasarakham Province. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Nanajayo, S., & Dajchaisre, A. (2018). A Model for Developing Competency of the Morality Teaching Monks in School. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 696-710.

Nichol, L. (2005) ‘Wholeness regained: Revisiting Bohm’s dialogue’, in B.H. Banathy and P.M. Jenlink, Dialogue as a means of collective communication. New York: Kluwer Academic Plenum.

Riangrila, P., Jamjuree, D., Yamkasikorn, M., & Haemaprasith, S. (2020). The Development of framework of Teaching Pratice Competencies in School for Pre-service Teachers. Journal of MCU Peace Studies, 8(4), 1367-1379.