กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการ ของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

ชนาภา ศรีวิสรณ์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

             บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาบริบทสภาพปัญหาและแนวคิดการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย 2.ศึกษากระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี และ 3. เสนอกระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการของชุมชนดอยช้าง จังหวัดเชียงราย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบภาคสนาม ประชากรผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยนักวิชาการ นักการศาสนา ผู้นำชุมชน ชาวบ้านชุมชนดอยช้าง จำนวน 30 คน การวิจัยเป็นการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล
เชิงพรรณนา
            ผลการวิจัยพบว่า 1.บริบทสภาพปัญหาความสัมพันธ์ของชุมชนแบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ 1) มีอคติต่อกัน 2) ยึดติดอุดมการณ์ 3) ไม่ยอมรับความจริง และ 4) มักจะมีความเห็นขัดแย้ง สำหรับการสร้างความสัมพันธ์ของชุมชนดอยช้าง คือ อยู่ร่วมกัน แบ่งปัน ยืนหยัดอยู่ด้วยตน มีจิตคิดช่วยเหลือภายใต้ความแตกต่างและเคารพวัฒนธรรมของกันและกันอย่างสันติ 2.กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธี ด้วยหลักสาราณียธรรม และพุทธสานเสวนา กล่าวคือ 1) การทำความดีต่อกัน รู้จักสัมมาคารวะ
2) การพูดกันด้วยความรัก ปรารถนาดี 3) การมองกันในแง่ดี มีเมตตาต่อกัน 4) การรู้จักแบ่งปัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ เสมอภาคต่อกัน 5) การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล 6) การมีความคิดเห็นเสมอกัน และ พุทธสานเสวนา คือ กระบวนการมีส่วนร่วมที่เน้นการฟังอย่างผู้รู้ คือ รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ความดับทุกข์ และรู้ทางพ้นทุกข์ 3.กระบวนการสร้างสันติสุขสัมพันธ์ตามหลักสันติวิธีเชิงบูรณาการอยู่ภายใต้หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขด้วยความสัมพันธ์ที่ดีที่เรียกว่า DOI CHANG MODEL ได้แก่ รับฟัง เปิดใจ ร่วมรับผลประโยชน์ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์ ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ รักษาสิ่งแวดล้อม และ กตัญญูต่อดอยช้าง ภายใต้กรอบของการ คิดดี ทำดี พูดดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Collection of Royal Instructions and Speech. (1955-1992). Bestowed upon Kasetsart University. Retrieved January 8, 2020, from http://www.sa.ku.ac.th/king-spku/.

Doi Chaang Coffee. (2017). "Doi Chaang Coffee Legend" page 1. Retrieved January 7, 2020, from http://www.doichaangcoffee.co.th/about-us/the-legend/.

Phisailert, P. (2019). Managing Director of Doi Chaang Coffee Company. Interview. December, 27.

Phramaha Hansa Dhammahaso(Nithiboonyakorn). (2011). Buddhist Peaceful Means. Bangkok: 21 Century Company Limited.

________. (2015). Teaching Document on the Subject of Buddhist Peaceful Means. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phrapalad Wisarut Thirasadho (Tangjai). (2015). Buddhist Dialogue for Building Unity between the Temple and Ban Nhongphai Community, Kanchanaburi Province. (Master’s Thesis). Grtaduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Methawinairos (Suthep Pasiwiko). (2017). The Model of Enhancing Harmony and Peace by the Five Precepts of the People in Saraburi Province. Research Article. MCU Peace Journal, 5(1).

Pieuseku, A. (2020). Doi Chang coffee farmer. Interview. December, 29.

Prasomsuk, W. (2006). The Principle of Educational Management by Way of Buddhadhamma. (Doctoral Dissertation). Faculty of Education. Naresuan University. Phisanulok.

Sapchoketanakul, N. (2014). Doi Chaang Coffee: Quality of Life of Thai Entrepreneurs under Fair Trade Brand. Veridian E-Journal, 7(2).

Suwanrat, S. (2017). The Building of Unity in the Model Village of Sufficient Economy by the Principle of Buddhadhamma. (Doctoral Dissertation). Graduate School. Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Thammachimwilaisap, A. (2016). Sustainable Community Development: A Case Study of Ban Doi Chang Community. Tambon Wawee, Mae Suai District, Chiang Rai Province. Faculty of Architecture Rangsit University, Rangsit University National Academic Conference.

Vasee, P. et al. (1996). Buddhism and Thai Social Spirit: Research Issue on Religions and Cultures. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Press.

Wattanasab, W. (1994). Conflicts: Principles and Resolution Tools. Khonkaen: Siriphan Offset Press.