การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ตรีทิพยนิภา สดศรี
กระพัน ศรีงาน
โกวิท วัชรินทรางกูร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพความต้องการ (2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ (3) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารงาน และ (4) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางฯ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 452 คน จาก 251 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มาโดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 42 เขต พื้นที่กำหนดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35 ได้กลุ่มตัวอย่าง 15 เขต พื้นที่การศึกษา ได้มาโดยการใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ตารางเลขสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบประเมิน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า  1. โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีการบริหารจัดการงานวิชาการ และมีความต้องการรูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการ 2. รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางฯ มีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ 1) ชื่อรูปแบบ 2) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 4) สาระสำคัญ 10 ด้าน คือ (1) ด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน (2) ด้านการแนะแนวการศึกษา (3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา (4) ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (5) การวางแผนงานวิชาการ (6) ด้านการนิเทศการศึกษา (7) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา (8) การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอน (9) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (10) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 5) แนวทางสู่การปฏิบัติ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ 3. ผลการประเมินรูปแบบพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางฯ มีความเหมาะ 4. ผลการใช้ รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลางฯ ในโรงเรียนรมย์บุรีพิทยาคมรัชมังคลาภิเษก พบว่า หลังการใช้รูปแบบกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งระดับความคิดเห็นหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunprasert, U. (2000). Guidelines for educational administration and management of schools in the form of school-based management. Bangkok: Teachers Council of Ladprao Publishing.

Chalamvong, Y. (2017). Challenges of Thai workers in the digital age. National institute for Thailand Deveiopment Research. Retrieved May 3, 2017, from http://tdri.or.th/2015/01/thailaborinthedigitalage>.

Office of the Basic Education Commission. (2009). Guidelines for learning management according to the Basic Education Core Curriculum BE 2551. Bangkok: Cooperative Assembly Publishing House. Agriculture of Thailand Ltd.

Office of the Basic Education Commission. (2008). Small school management guidelines model. Bangkok: Office of the Basic Education Commission.

Office of the Education Council Secretariat. (2018). Thai education situation in the world stage 2014. Bangkok: Prikwan Graphic Co., Ltd.

Thongnoi, N. (2013). Development of an effective academic administration system in elementary schools. (Doctoral Dissertation), Mahasarakham University.

Sinlarat, P. (2015). Higher education and Thai society. 2nd edition. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyala Printing House.

Wongwanit, S. (2007). Needs assessment research. Bangkok: Chulalongkorn University.

Wong-anutararoj, P. (2010). Academic Administration. Bangkok: Bangkok Supplementary Media Center.