รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ 4) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารหรือผู้จัดการของสถานีบริการน้ำมัน และกลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มผู้บริหารหรือผู้จัดการสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ 10 คน กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 400 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีน้ำมันมี 7 ด้าน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทรัพยากรมีองค์ประกอบย่อย 3 ปัจจัย ปัจจัยด้านการขายการตลาดมีองค์ประกอบย่อย 3 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี มีองค์ประกอบย่อย 2 ปัจจัย ปัจจัยด้านการบัญชีการเงินมีองค์ประกอบย่อย 3 ปัจจัย ปัจจัยด้านการให้บริการมีองค์ประกอบย่อย 3 ปัจจัย ปัจจัยด้านกฎหมายและความปลอดภัยมีองค์ประกอบย่อย4 ปัจจัย และปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ซึ่งทั้ง 7 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับส่งผลมาก โดยปัจจัยย่อยขององค์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 22 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมัน ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันที่สามารถนำไปใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพและผลการจัดทำคู่มือแนวปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจพบว่า มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้สำหรับไปประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารสถานีบริการน้ำมันรุ่นใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aiyananthavijak, S. (2015). Development, Development, Empowerment, Performance of Executives of the Processed Food Processing Industry of Thailand. (Master’s Thesis). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Chatsaenguai, P. (2014). A model for developing business executives in the Xian community. Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Department of Energy Business. (2018). Statistics for the number of oil traders for the year 2017. Bangkok: Ministry of Energy.
Energy Policy and Planning Office. (2019). Statistics of the number of gas stations for the year 2019. Bangkok: Ministry of Energy.
Komolratwattana, O. (2014). A model for developing the capacity of senior management in the administration to increase competitiveness in theindustry. Alcoholic beverages. (Master’s Thesis). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Sirisak, W. (2016). Development of cultural intelligence to create leadership of leading business organizations in Thailand. Valaya Alongkorn Rajabhat University.
Treechada, W. (2016). Occupational development model for senior executives in the automotive parts manufacturing industry to support entering the ASEAN Economic Community. (Doctoral Dissertation). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok.
Yuupakdee, N. (2015). Potential for Human Resource Development. Industry: Case studies of Thailand, Laos and Vietnam. (Master’s Thesis). King Mongkut's University of Technology North Bangkok. Bangkok.