เหตุผลของการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนักเรียน ระดับมัธยมปลาย ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

มนัญชัย รัตนบุรานนท์
ศิวัช ศรีโภคางกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่องเหตุผลของการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนักเรียนระดับมัธยมปลาย ในจังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเหตุผลที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปลาย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปลาย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มเป้าหมายได้แก่ แกนนำนักเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนมัธยมในอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น จำนวน 5 แห่ง รวมทั้งสิ้น 11 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย 7 คน และเพศหญิง 4 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การสังเคราะห์จากข้อมูลบุคคล รวมถึงการศึกษาเชิงเอกสาร ที่เป็นแหล่งข้อมูล ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ตำรา แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) เหตุผลที่ส่งผลให้เข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาลประกอบด้วยปัจจัยดังต่อไปนี้ ด้านสิทธิและเสรีภาพ ด้านสถานศึกษา ด้านการเมือง ด้านครอบครัว ซึ่งการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดขอนแก่นเกิดจากประสบการณ์การรับรู้ด้วยตนเอง เมื่อเกิดข้อสงสัยบางอย่างและเกิดการตั้งคำถาม จึงนำไปสู่การออกมาเรียกร้องเคลื่อนไหวเพื่อหาคำตอบ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาล พบว่าประกอบไปด้วย ด้านอุดมการณ์ส่วนบุคคล ด้านสังคมโซเชียลมีเดีย และด้านการรับรู้ความเสี่ยง ที่มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจเข้าร่วมชุมนุมอย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonkrong, K., & Sripokangkul, S. (2019). Khon Kaen University Students and Political Awareness. Journal of Public Administration and Politics, 8 (3), 94-119.

Matichon TV. (2020). Teacher Chula delves into high school student mob They know the truth more than adults think.: [Video file]. Retrieved August 15, 2020, From https://www.youtube.com/watch?v=XPF07ytbuEw

Matichon. (2020). School of Khonkaen Announced to go home to repel mosquitoes, after students make an appointment to raise a blank paper. Retrieved August 13, 2020, from https://www.matichon.co.th/politics/news_2305967.

Meemana, P., & Singmatr, S. (2017). From of Political Behavioral Expression of Citizen According to Democratic Way of Life. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4(2), 135-149.

Patterson, John. (1980). Teaching Personalized Decision Making. Santa Clara Country K-12 Career Education Consortium Son Jose.

Pivpong, Y., & Wongthanavasu, S. (2015). Political Demonstration Management. JOURNAL OF Graduate Study in Humanities and Social Sciences, 4 (2), 221.

Siriyod, P., Suwanchai, P., Navidale, F., Siriwataranon, W., & Jitthavornpisit, S. (2018). From Rebellious Students to Activists: Comparative case studies of Parit Chiwarak's and Netiwit Chotiphatphaisal's social movement campaigns. Journal of Sociology and Anthropology, 38 (1), 136-152.

Thanapunth, N. (2018). Constitution Reform for Democracy or for Dictatorship Succession in the form of 4.0. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8 (3), 204-205.

Thepa, C. (2016). The Coup in Thai Politics. Retrieved September 21, 2020, from http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_417.pdf.

Vatanasapt, W. (2013). A Guide Book for Involving Citizens in Community Decision Making. Khonkaen: Klangnana.

Worachampa, S. (1996). The development of democracy in large government secondary schools under the jurisdiction of the general education department in Bangkok Metropolis. (Master’s Thesis) Srinakharinwirot University. Bangkok.