ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: จังหวัดนครราชสีมา ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

Main Article Content

จักรีวัชระ กันบุรมย์
ชนิดา จิตตรุทธะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะของรูปแบบ และกิจกรรมของการประสานความร่วมมือในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเรื่องของการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของชุมชน ในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ 2) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ผู้ศึกษาได้ใช้วิธีการศึกษาแบบคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 กลุ่มที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญของภาครัฐ ภาคแอกชน และภาคประชาสังคม และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์องค์ประกอบและสรุปประเมินผล


ผลการวิจัยพบว่า 1) จังหวัดนครราชสีมาร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมหารือ เพื่อระดมความคิดและวางแนวทางในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานเป็นเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยวภายในจังหวัด ซึ่งมีการประสานงานกับชุมชน 2) ภาครัฐมีการให้ความรู้เกี่ยวกับบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวระดับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน ทั้งในด้านของการอนุรักษ์ทรัพยากร การวางแผนและจัดการ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและการกระจายตัวของผลประโยชน์ ตามหลักการของ UNWTO (1998)  ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนครราชสีมา มีลักษณะการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันและร่วมกันทำงานเป็นทีมในทุกมิติ มากน้อยแตกต่างกันไป ความร่วมมือได้พัฒนาขึ้นโดยมุ่งไปที่การวางแผนการทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบรรลุเป้าหมายที่เป็นจริง ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนในจังหวัดนครราชสีมา และของกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Agranoff, R., & McGuire, M. (2003). Collaborative public management: New strategies for local governments. Washington, DC: Georgetown University Press.

Ansell, C., & Gash, A. (2008). Collaborative Governance in Theory and Practice. Journal of Public Administration Research and Theory, 18(4), 543-571.

Huxham, C. (1996). Creating collaborative advantage. London: Sage International Association for Public Participation-IAP2. (2006). Lap2 Public Participation Spectrum. Retrieved June 10, 2020, from http://iap2.org.au/sitebuilder/resources/knowledge/asset/files/36iap2spectrum.pdf

Jittaruttha, C. (2019). Public Policy: Analysis Analyze Case study. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ministry of Tourism & Sports, Thailand. (2017). Thailand travel to Tourism Statistics 2017.Retrieved June 15, 2019, from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

O‘Leary, R., Gerard, C., & Bingham, L. (2006). Introduction to the Symposium on Collaborative Public Management. Public Administration Review, 66, 6-9.

Thailand Tourism. (2020). Tourist Statistics. Retrieved May 9, 2020, from https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=411

Lamai Thailand.(2020). Top 100 Travel. Retrieved May 9, 2020, from http://www.lamaithailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539311799

The Office of Strategy Management: OSM-NEL1. (2020). Development Plan for the Lower Northeast Region 1 (2018-2022) Revision 2020. n.p.

World Tourism Organization. (1998). Guide for local authorities on developing sustainable tourism. New York: n.p.