กลขี่ช้าง 12 แบบในตำราคชกรรม ฉบับหอสมุดแห่งชาติ

Main Article Content

วริศรา โกรทินธาคม
อุเทน วงศ์สถิตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลวิธีการขี่ช้างที่ปรากฏในตำราคชกรรม ฉบับหอสมุดแห่งชาติ 2) สังเคราะห์กลวิธีการขี่ช้างในแง่ของการนำไปใช้ และ 3) ศึกษาภูมิปัญญาในการขี่ช้างของบรรพบุรุษไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเรียบเรียงเนื้อหาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นตำราคชกรรม ซึ่งเป็นเอกสารชั้นต้น (Manuscripts) ที่เก็บรักษาไว้ที่กลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึกสำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร มีจำนวนทั้งสิ้น 60 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลขี่ช้าง 12 แบบที่ปรากฏในตำราคชกรรม ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ได้แก่ กลขี่ช้างล่อปลายเชือก กลขี่ช้างกำรากเหลือลาม กลขี่ช้างไม่หัด กลขี่ช้างมิข้ามน้ำ กลขี่ช้างเกลียดน้ำมิลงน้ำ กลขี่ช้างเกลียดไม้เกลียดโรงเกลียดตลุงเบญพาด กลขี่ช้างน้ำมันค้ำในวงพาด กลขี่ช้างค้ำกลางแปลง กลขี่ช้างน้ำมันไล่ม้าล่อแพน กลขี่ช้างน้ำมันไล่คน กลขี่ช้างชนบำรูงา และกลขี่ช้างชนศึก 2) กลวิธีการขี่ช้างสามารถแบ่งตามประเภทการฝึกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 การฝึกหัดทั่วไป คือ การฝึกเตรียมความพร้อมแก่ช้าง การฝึกหัดโดยการใช้ขาบังคับ หรือใส่อุปกรณ์ และการฝึกหัดประกอบกับพิธีกรรม ประเภทที่ 2 การฝึกเฉพาะกิจ ได้แก่ การฝึกช้างเพื่อแสดงต่อหน้าพระที่นั่ง การฝึกช้างใช้ในการศึกสงคราม ประเภทที่ 3 กลขี่ช้างชนศึก 3) กลขี่ช้างทั้ง 12 แบบนี้สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาไทยไนแง่ของการเป็นวิชาความรู้แขนงหนึ่ง รวมถึงการเป็นศิลปวิทยาการอันทรงคุณค่าที่มีในอดีตและตกทอดมาถึงปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
โกรทินธาคม ว., & วงศ์สถิตย์ อ. (2021). กลขี่ช้าง 12 แบบในตำราคชกรรม ฉบับหอสมุดแห่งชาติ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1157–1168. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247256
บท
บทความวิจัย

References

Chantawit, N. (n.d.). Chang ratchaphahana. n.p.

Hophrasamutwachirayan. (1922). Tamra khi chang khrang phaendin somdet phranaraimaharat 2199-2231 chabap phra chao baromwongtae krommaluang adisorn udomdet prot hai phim meu 2465. Pra na khorn: Rong phim so phon phi phat tha na korn.

Paiboonwangchareun, P. (2003). Phrasamuttamraphankhotchalak. Bangkok: National Library of Thailand, Fine Arts Department.

Pangchangayutthayalaepaneat. (1998). Phan ngan khrong kan phi thi khlong chang (Tamraluang) na pa neat khlong chang Thong thung thale ya chang wat phranakhornsriayutthaya. n.p.

Panyangam, P. (1990). A Study of Khotchalak from Thai Royal elephant’s textbook. n.p.

Rachanuphap, D. (2013). Ni than boran khadee. Bangkok: Thai quality book.

The office of Art and Culture Lampang Rajabhat University. (1992). A study of rite about elephant in elephant conservation center Lampang. n.p.

Unpublished Manuscripts inThai.

The National Library. (n.d.). Phrasamutpratamrachang 2. no.23. Thailand: n.p.

The National Library. (n.d.). Phrasamuttamrakhichangphranarai. no.94. Thailand: n.p.

The National Library. (n.d.). Phrasamuttamranaraichopboribun. no.69. Thailand: n.p.

The National Library. (1814). Samutphratamrapkhichang. no.75. Thailand: n.p.

The National Library. (1814). Samutphratamrapkhichang. no.85. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhichang. no.76. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhichang. no.81. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhichang. no.92. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhichang. no.95. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhichang. no.145. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhlongchang. no.97. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamrakhwanchangphrathinang. no.141. Thailand: n.p.

The National Library. (n.d.). Tamralakkhanakhichang. no.78. Thailand: n.p.

The National Library, (n.d.). Tamranarailopburiwaduaychangkliatmaikliatrongkliattalungbenpat. no.70. Thailand: n.p.