กิจกรรมการเรียนรู้แบบสถานการณ์เป็นฐาน ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับอุดมศึกษา

Main Article Content

จิตสุภา กิติผดุง

บทคัดย่อ

การเรียนรู้ด้วยสถานการณ์จำลอง เป็นเทคนิคการสอนแบบหนึ่งที่ส่งเสริมการศึกษาการเป็นพลเมือง ผู้เรียนได้เรียนรู้ประเด็นปัญหาที่มีอยู่จริงในสังคม ทำให้เข้าใจและเห็นถึงบทบาทหน้าที่ของทุกคน ทุกบทบาทที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางการเมือง ซึ่งจากการใช้แนวทางของ Simulation-Based Learning ผู้เรียนนอกจากจะได้องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับเนื้อหาของหลักสูตร ในอีกด้านหนึ่งยังช่วยสร้างทัศนคติที่ผู้เรียนตระหนักรู้จาการได้มีประสบการณ์ตรงในการมีส่วนร่วม พร้อมทั้งพัฒนาทักษะของความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย บทความนี้เป็นการนำเสนอวิธีการของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสถานการณ์เป็นฐาน เพื่อช่วยส่งเสริมการเรียนรู้วิชาพลเมืองในรายวิชาศึกษาทั่วไปในระดับอุดมศึกษา โดยแนวทางการใช้ Simulation-Based Learning ในวิชาพลเมืองในระดับอุดมศึกษาจะเน้นกระบวนการที่ทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเป็นพลเมืองที่ไม่ใช่การเรียนรู้จากการบรรยายหรือท่องจำทฤษฎีที่ผู้สอนบอกเล่าเพียงด้านเดียว หากแต่เป็นการสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้เห็นภาพของการที่พลเมืองมีบทบาทในการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาที่เกิดขึ้น บูรณาการกับการสร้างสรรค์ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมและการเรียนรู้การมีส่วนร่วมผ่านทางกระบวนการประชาธิปไตยในระดับท้องถิ่น โดยที่นอกจากผู้เรียนจะได้องค์ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองและประชาธิปไตยแล้ว กระบวนการ Simulation-Based Learning ยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่มีต่อมุมมองบทบาทและความรับผิดชอบของคนในสังคม และฝึกฝนทักษะทางด้านสังคมต่างๆ ที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย ดังนั้น การนำกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Simulation-Based Learning ไปใช้เพื่อ integrate กับหลักสูตรวิชาความเป็นพลเมืองในวิชาการศึกษาทั่วไปในระดับอุดมศึกษา จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สร้างให้ผู้เรียนเข้าใจ และรู้สึกผูกพันธ์กับความเป็นพลเมืองที่เห็นภาพจริงและมีความเข้าใจผ่านการมีประสบการณ์จากการปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
กิติผดุง จ. (2021). กิจกรรมการเรียนรู้แบบสถานการณ์เป็นฐาน ในการส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับอุดมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2220–2229. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247249
บท
บทความวิชาการ

References

Abilock, D. (2006). So close and so small: Six promising approaches to civic education, equity, and social justice. Knowledge Quest, 34(5), 9.

Arporniem, P. (2019). Creating citizens through a philosophical examination process. Retrieved March 4, 2020, from http://thaiciviceducation.org/th

Cammarano, J., & Fowler L. L. (1997). Enhancing Citizenship through Active Learning: Simulations on the Policy Process. In Barber, B. R. (Eds). Education for citizenship: Ideas and innovations in political learning. Rowman & Littlefield Publishers.

Chesler, M., & Fox, R. (1966). Role-playing methods in the classroom. Chicago: Science Research Associates.

Clarke, P., & Wales, J. (2005). Learning Citizenship. London: Routledge.

Deejay, A., Rublee, M. R., & Zech, S. T. (2019). Active Learning in Large Graduate Classes: Reflections on an “Attaining Citizenship” Simulation. Journal of Political Science Education, 15(1), 120-132.

Elmore, R. (2018). Design as learning, learning as design. In R. Ellis & P. Goodyear (Eds.). Spaces of teaching and learning: Integrating perspectives on research and practice. Singapore: Springer.

McGuire, M. E., Stevahn, L., & Bronsther, S. W. (2019). Storypath: A Powerful Tool for Engaging Children in Civic Education. Democracy and Education, 27 (2), Article 4. Retrieved February 8, 2020, from https://democracyeducationjournal.org/home/vol27/iss2/4

Sim, J. B. Y., & Print, M. (2005). Citizenship education and social studies in Singapore: A national agenda. International Journal of Citizenship and Teacher Education, 1(1), 58-73.

Taylor, J. L., & Walford, R. (1972). Simulation in the Classroom. Harmondsworth: Penguin Books. Worthington, T. A. (2018). Letting students control their own learning: using games, role-plays, and simulations in middle school US history classrooms. The Social Studies, 109(2), 136-150.