รูปแบบการเขียนกฎหมายโบราณอีสาน

Main Article Content

อัญชลี รัตนธรรม
ราชันย์ นิลวรรณาภา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการเขียนในกฎหมายโบราณอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แนวคิดท่วงทำนองการเขียนเป็นกรอบแนวคิดสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการศึกษาข้อมูลจากกฎหมายโบราณอีสานฉบับปริวรรตของ Channawet (2017) จำนวน 18 ฉบับ ได้แก่ 1) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 1 2) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 2 3) หลักคำเมืองร้อยเอ็ดหลักที่ 3 4) อาณาจักรหลักคำเมืองสุวรรณภูมิ 5) หลักคำเมืองกาฬสินธุ์ 6) หลักคำเมืองภูเขียว 7) อาณาจักรหลักไชยพระไชยเชษฐาธิราช 8) หลักคำเมืองสกลนคร 9) กฎหมายโบราณ (หลักคำ) 10) อาณาจักรธรรมจักหลักไชย 11) อาณาจักรธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์-สร้อยสายคำ 12) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์เมืองขอนแก่น 13) สร้อยสายคำ 14) คัมภีร์โพสะราช 15) ธรรมศาสตร์-ราชศาสตร์ 16) พระธรรมนูญ 17) พระธรรมศาสตร์ และ 18) พระอัยการ


ผลการวิจัยพบว่า กฎหมายโบราณอีสานมีรูปแบบการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนต้น ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย ส่วนต้นพบว่ามี 4 ลักษณะ ได้แก่ ส่วนต้นที่กล่าวถึงที่มาของกฎหมาย ส่วนต้นที่กล่าวด้วยถ้อยคำมงคล ส่วนต้นที่เกริ่นถึงเรื่องที่จะกล่าวต่อไป และส่วนต้นที่กล่าวถึงบทลงโทษเมื่อกระทำความผิด สำหรับ ส่วนเนื้อหาจัดแบ่งเนื้อหาของกฎหมายโบราณอีสานโดยแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ เนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับเจ้านายและชนชั้นสูง เนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับพระสงฆ์ และเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับประชาชน และส่วนท้ายพบว่ามีลักษณะการปิดท้าย 6 ลักษณะ ได้แก่ ส่วนท้ายที่ระบุชื่อของผู้บันทึกกฎหมาย ส่วนท้ายที่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนใบลานที่ใช้บันทึกกฎหมาย ส่วนท้ายที่เน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนท้ายที่ระบุสถานที่ตรากฎหมาย ส่วนท้ายที่ระบุวัน เดือน ปี ที่ตรากฎหมาย และส่วนท้ายที่กล่าวถึงเนื้อหากฎหมาย

Article Details

How to Cite
รัตนธรรม อ., & นิลวรรณาภา ร. (2021). รูปแบบการเขียนกฎหมายโบราณอีสาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1740–1752. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247153
บท
บทความวิจัย

References

Channawet, C. Transformer. (2017). Press the Ancient Sign from Ancient Documents in the Northeast Isan Institute of Arts and Culture, Mahasarakham University. Mahasarakham: Apichat Printing.

Kaewchandee, N. (2017). The Construction of Isan Ancient Law 2322-2433 B.E. (Doctor Dissertation). Naresuan University. Pitsanulok.

Nantachukra, A. (1986). Isan Historiography: A Study of Northeastern Thailand ‘s Historio-Graphical Traditions until the Beginning 20th Century. (Master’s Thesis). Silpakorn Univesity. Bangkok.

Pitakanothai, N. (2012). Styles in the Lanna Ancient Law. (Master’s Thesis). Chiangmai University. Chiang Mai.