การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

กาญจนา จินดานิล
พัชรี ฉลาดธัญกิจ
สิริพร พงศ์หิรัญสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาและเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานทั้งวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จากผู้บริหาร 4 คน อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ 66 คน และ สถานประกอบการที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ปีการศึกษา 2562 เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 80 คน รวม 150 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ ด้านสหกิจศึกษา จำนวน 15 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดกลุ่ม


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบสหกิจศึกษาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในภาพรวม ทั้งในส่วนของอาจารย์ และสถานประกอบการอยู่ในระดับมากที่สุด โดยอาจารย์มีค่า (gif.latex?\bar{x} = 4.88) หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.95) รองลงมา คือ ด้านผู้เรียน (gif.latex?\bar{x} = 4.94) สำหรับสถานประกอบการมีค่า (gif.latex?\bar{x} = 4.79) หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.84) รองลงมา คือ ด้านสถานประกอบการ (gif.latex?\bar{x} = 4.81) 2) รูปแบบการจัดการแบบสหกิจศึกษาของสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ประการ คือ ด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านผู้เรียน ด้านผู้สอน ด้านสถานประกอบการ และด้านการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anantanakul, K., & Pornthadawit, N. (2015). Characteristics of graduates according to the National Qualification Framework for Higher Education in Tourism and Hotel Studies, Faculty of Liberal Arts Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Journal of Industruial Education Rajamanangala of Technology Thanyaburi, 3(2), 145-156.

Chininthorn, P., & Phlayamas, W. (2010). Success Factors Educational Management Integration with work for Thai Higher Education. Kasetsart University Academic Conference 7 th Kamphaeng Saen Campus, Nakhon Pathom, 7(2), 1056-1063.

Kachinthon, X. (2018). Gen Next Education Landscape. Higher Educations and It’s Role in Education Landscape. Thammasat University Academic Conference. Bangkok: Thammasat University.

Meintarakerd, I. (2019). Integrated Approach of Cooperative Education Management to Develop Entrepreneurial Graduates. (Doctoral Dissertation). Siam University. Bangkok.

Ministry of Higher Education Science Research and innovation. (2020). Higher Education policy and strategy research and innovation. Bangkok: Ministry of Higher Education Science Research and innovation.

Office of the Education Council, Ministry of Education. (2011). The Development of teaching and learning management models that integrate learning with work in higher education level of Thailand. Bangkok: Prik hwan kraffix printing.

Office of the Higher Education Commission. (2008). Framework for a 15-year long-term higher education plan 1(2). Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

Pituraphong, S. (2012). Thai workers in the context of the ASEAN Community. Retrieved October 11, 2020, from http://tdri.or.th/2012/11/sarawut-aseanl.

Sinlarat, P. et al. (2018). Education 4.0 is more than education. Bangkok: Printing Press of Chulalongkorn University.

Yakhampom, W. (2014). Characteristics of the Bachelor of Business Administration Program Branch of Managementaccording to the needs of entrepreneurs in the district of Muang Loei, Loei Province. Journal of Marketing and Management, 1(2), 130-141.

Yenyuak, C. (2018). Evaluation on the Management of Cooperative Education: A Case Study of Rangsit University. Pathumtani: Rangsit University printing.