การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษทางการศึกษาด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาทักษะทางการอ่าน-เขียน สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ลินคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษทางการศึกษาด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์ ให้ได้ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก ฯ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึก ฯ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานวิธี แบบรองรับภายใน ด้วยการศึกษา วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว มีการทดสอบก่อนและ หลังการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 1 ห้องเรียน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ 1) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษทางการศึกษาด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อแบบฝึก ฯ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึก ฯ และใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการหาค่าระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกฯ และการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแบบฝึก ฯ มีค่าเท่ากับ 80.15/ 82.03 ค่าเฉลี่ยของการทดสอบการอ่าน – เขียนภาษาอังกฤษจากแบบฝึก 8 บทเรียนเท่ากับ 80.15 และค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 82.03 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์กำหนดไว้คือ 80/80 2) ความสามารถทางการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษ ของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้นหลังจากที่เรียนด้วยแบบฝึกฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการอ่าน - เขียน หลังการทดลองใช้แบบฝึก ฯ เท่ากับ 42 คะแนน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.50 3) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นที่ดีมากต่อแบบฝึกฯ โดยเฉลี่ยรวม (x ̅ = 4.78, S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ลินคำ ท. (2021). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษทางการศึกษาด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์เพื่อพัฒนาทักษะทางการอ่าน-เขียน สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1912–1926. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247042
บท
บทความวิจัย

References

Mora, J. (2018). Development of online English grammar exercises to enhance learners’ability to do grammar test and to write sentences. (Doctoral Dissertation). Thaksin University. Songkhla.

Chatchawalkijkul, T. (2012). Development of English of English Project Activities Related to Local Topics of Nakhon Pathom to Develop Reading – Writing skills of Matthayomsusa Five Students, Joseph Upatham School, Sampran, Nakhon Pathom. (Master’s Thesis). Silapakorn University. Nakhon Pathom.

Linkhome, T. (2019). The Development of Academic Reading Instructional Model through Collaborative Strategic Reading Integrating with Questioning the Author Strategies to Enhance Reading Ability and Strategy Use for Undergraduate Students. (Doctoral Dissertation). Silapakorn University. Nakhon Pathom.

Chattiwat, W. (2000). Teaching English Reading Comprehension. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silapakorn University.

Lowriendee, W. (2013) Thinking Skills Instructional models and strategies. Nakhon Pathom: Faculty of Education Silapakorn University.

Wongyai, W. (2011) The Development of Curriculum in University Education. Bangkok: R and Print, 2011.

Nilaphan, M. (2012) Research Methodology in Education. Nakhon Pathom: Research and Development in Education. Faculty of Education Silapakorn University.

Brahmawong, C. et al. (1977). The systems curriculum. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.

Wongsothorn, A. (2001) Testing and Evaluating in English Testing. Bangkok: Chulalongkorn University Printery.

Brown, R. (2018). Beyond direct explanation: Transactional instruction of reading comprehension strategies. The Elementary School Journal, 92(5), 513-555.

Creswell, J. W., & Plano Clark, V. L. (2011). Designing and conducting Mixed Methods Research. Los Angeles: SAGE Publications.

Darling-Hammond, L. (2019). The role of teacher expertise and experience in students’ opportunity to learn. Strategies for linking school finance and students’ opportunity to learn. Washington, D.C.: National Governors’ Association Center for Public Research.

Edelsky, C. (2016). Writing in a bilingual program: USA: Habia una vez. Norwood, NJ: Alblex.

Williiam, G. (2010). Reading in a Second Language: Moving form Theory to Practice. (3rd edition). USA: Cambridge University Press.

Irwin, G., & Westphal. J. (2007). Teaching reading comprehension processes. (3rdedition). USA: Pearson Education.