รูปแบบการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทย กับความมั่นคงของชาติ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทการค้าชายแดนไทยกับปัญหาการคัาชายแดน ไทย-กัมพูชาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทยกับความมั่นคงของชาติ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว และ 3) เพื่อหารูปแบบการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทยกับความมั่นคงของชาติ เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก 20 คน และการสนทนากลุ่ม 20 คน ด้วยการสัมภาษณ์แบบ
กึ่งโครงสร้างโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า ด้านคน เวลา และสถานที่
มีผู้เชี่ยวชาญ 5 คนเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการค้าชายแดนไทยกับปัญหาการค้าชายแดนไทยกัมพูชา ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการแข่งขันของสินค้าไทย สร้างแรงกระตุ้นให้นักลงทุน ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นและสร้างการกระจายรายได้ 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทยกับความมั่นคงของชาติ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ปัญหาที่พบ ได้แก่เจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ ขาดการทำงานที่เป็นมาตรฐาน ขาดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) รูปแบบการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทยกับความมั่นคงของชาติ เขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ใช้รูปแบบ CBSคือ 1. C = Complement การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ของชาติและการบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ 2. B = Business climate สร้างบรรยากาศทางธุรกิจที่ดึงดูดการลงทุนจากภายในประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ และ 3. S = Sector strategies มุ่งเน้นอุตสาหกรรมระดับภูมิภาคในการเสริมสร้างทักษะแรงงาน ใช้การบูรณาการระหว่างภาครัฐและเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ รูปแบบ CBS ในการแก้ไขปัญหาการค้าชายแดนไทยกับความมั่นคงของชาติเขตเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ช่วยลดอุปสรรค และส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางการค้า เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยอาศัยบรรยากาศทางธุรกิจเพื่อดึงดูดการลงทุน
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bandit Permboon, Painters Phongam and Kitirat Sihaband. (2019). Form to promote border trade between Thailand and Cambodia at Chong Sa-ngam area. Sisaket Province Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University, Year 21, Issue 2, July-December, Pages 27-44.Jutatip Klaithubthim. (2012). ASEAN Economic Community with Thailand. Bangkok: Printing House. Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.
Chatiros Sammawattana. (2014). Handicap of Thai border trade: border special economic zone. Bangkok: Office of Trade and Investment Cooperation.
Kitti Suthisamphan. (2017). Development of border trade to support the special economic zones of Thailand. Bangkok: National Defense College.
Marie-Agnès Jouanjean, Dirk Willem te Velde, Neil Balchin, Linda Calabrese and Alberto Lemma. (2016). Regional infrastructure for trade facilitation Impact on growth and poverty reduction. London: Overseas Development Institute.
Mathurada Samaikul. (2014). Guidelines for Border Trade Economic Development A case study on the Thai-Cambodia border friendship market. Journal of Academic Resources Prince of Songkla University, Year 25, Issue 1, January - April 2014, page 22.
Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1984). Qualitative Data Analysis: A Sourcebook of New Methods. Beverly Hills, CA: Sage.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2013). Border trade with the ASEAN community. Office of the National Economic and Social Development Board: Bangkok.
Phanarat Pridaporn. (2013). Special article on national security. Department of International Public Relations. Online. Retrieved 25 June 2019, source http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3166&filename=index.
Rewadee Kaewmanee. (2013). Bright border trade prospects. Opportunities for industrial sectors under the Thai baht era fluctuate. Macro Industry Policy Office. Online. Retrieved 17 July 2019, source http://www.oie.go.th/sites/default / files / attachments / article / trendbordertrade-june2556.pdf.
Saran Ratanasithi and Pensri Jaroenwanit. (2012). Barriers to Border Trade along the Southern Economic Corridor: A Case of Thai-Cambodia Trade on the Border of Sakaew Province. GMSARN International Journal, 6, pp. 121 – 134.
Wimon Pankhong. (2014). Opportunities for Thai border trade. International Institute for Trade and Development. Post Today Newspaper Section: Business-Markets / ASEAN Community, Year 12 Issue No. 4341.