ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกกับยุทธศาสตร์ชาติและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) 2) หาแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1 คน โดยการจัดกลุ่มสนทนา จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย SWOT Analysis และ TOWS Matrix วิเคราะห์บทสรุปเชิงเนื้อหา และตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า ด้านคน เวลา และสถานที่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกกับยุทธศาสตร์ชาติและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสร้างความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ยกระดับอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาว ยกระดับพื้นที่ 3 จังหวัดคือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง และฉะเชิงเทรา มุ่งเน้นสนับสนุนการพัฒนาด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจ สร้างเสริมความร่วมมือกับหลากหลายองค์กรภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ 2) แนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกการประกาศเขตส่งเสริมใน 5 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ (1) เขตส่งเสริมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก: เมืองการบินภาคตะวันออกหรือ Special EEC Zone : Eastern Airport City บริเวณสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (2) เขตส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) จังหวัดระยอง (3) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand: EECd) จังหวัดชลบุรี (4) นิคมอุตสาหกรรม Smart Park จังหวัดระยอง และ (5) นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 จังหวัดระยอง 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก พบจุดแข็งด้านการพัฒนาพื้นฐานด้านการขนส่งและระบบสาธารณูปโภค นโยบายอุตสาหกรรมพัฒนาต่อยอด และการพัฒนาโครงการเมืองอัจฉริยะซึ่งสามารถนำมากำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้ยุทธศาสตร์ LIS ประกอบด้วย (1) Logistics โลจิสติกส์ (2) Industry อุตสาหกรรม (3) Smart city เมืองอัจฉริยะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Academic Office, Secretariat of the House of Representatives. (2017). Eastern Economic Corridor (EEC), a New Hope for the Sustainable Thai Economy. Bangkok: Academic Office, Secretariat of the House of Representatives.
Eastern Economic Corridor Development Office. (2016). Special Economic Corridor Development Project. Online. Retrieved August 7, 2019, from http://www.Eeco.ot.th/th
Jaroonpipatkul, N. (2017). EEC, a New Investment Locomotive of the Decade. Retrieved August 6, 2019, from http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640761
National Economic and Social Development Board. (2016). Eastern Economic Regulation Development Work Plan. Bangkok: Main Report, Office of the National Economic and Social Development Board.
National Strategy Committee. (2018). National Strategy 2018-2037 (Short Version). Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.
Office of the Board of Investment. (2015). A Guide to Investment in the Special Economic Development Zones. Bangkok: Office of the Board of Investment.
Office of the Eastern Economic Corridor Policy Committee. (2019). Manual for the Establishment or Expansion of Special Economic Promotion Zones. Bangkok: Office of the Eastern Economic Corridor Policy Committee.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). National Economic and Social Development Plan Twelfth Edition, 2017 –2020. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.
Strategy and Information for Development Division, Rayong Province. (2018). Eastern Economic Corridor Development Project: Rayong Province. Rayong: Rayong Provincial Office.
Tadpitakul, S. (2017). EEC Eastern Economic Corridor. Investment Promotion Journal, 28(7), 8-14.
United Nations Conference on Trade and Development. (2019). Special Economic Zones. Geneva: United Nations.