การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 โรงเรียนวัดป่าถ้ำภูเตย อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 2) เพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 3) เพื่อทดลองใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ และ4) เพื่อประเมินชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 โรงเรียนวัดป่าถ้ำภูเตย รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมายจำนวน 136 คน ใช้การเลือกแบบเจาะจงโดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ได้แก่ โรงเรียนในโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงเครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนล่าง ปีงบประมาณ 2561 โรงเรียนมีลักษณะพหุวัฒนธรรม นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ในภาพรวมต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนที่มีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ห่างไกลของจังหวัดกาญจนบุรี และผู้บริหารโรงเรียนกับคณะครูต้องการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด คือ 1)แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2)แบบบันทึกการสัมภาษณ์ 3)ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 4)แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมความสุขของนักเรียนในชั้นเรียน 5)แบบประเมินความสามารถในการอ่านและเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าประสิทธิภาพชุดกิจกรรม และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนวัดป่าถ้ำภูเตย ต้องการยกระดับคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนมีลักษณะ พหุวัฒนธรรม 2) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ วิชาดนตรี ศิลปะ ภาษาไทย สังคมศึกษาและพลศึกษา เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน 3) ผลทดลองใช้กิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ทั้ง 4 ชุด มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 4) การประเมินผลพบว่าความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ประเมินจากทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน หลังเข้าร่วมการวิจัยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักเรียนทุกระดับชั้นมีพฤติกรรมแสดงถึงความสุขในการเรียนหลังการเข้าร่วมกิจกรรมที่ระดับมาก (= 3.93)
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Abhattananon, T. (2018). Multicultural School, Thai Educational Management Policy in a Multicultural Society. Bangkok: CU Press.
Chalermsri, A. (2012). The Development of an Integrated Learning Activity Package Within Prathom Suksa 2 Science Science Strand, Srinakharinwirot University Prasarnmit School (Primary Department). Bangkok: Srinakarin Wirot University.
Chatngern, M. (2003). Development of Reading Skills at the Level of Grade 2/2 Assumption Rayong School. Rayong: Assumption College Rayong.
Choorak, P. (2019). Policy Proposals for Problem Solving for Illegible Students of Grade 1 Students. Journal of MCU Nakhondhat, 6(3), 1095-1108.
Kaweewong, K. (2012). Participation In Social Surveillance To Prevent Student Escape.Teenagers In Educational Service Area 2, Pak Kred District Nonthaburi Province (Master’s Thesis). Thammasat University. Bangkok.
Lansa, S. (2014). The Development of the Learning Committee by Using the Search Process for Knowledge Enhancement in Analytical and Psychological Ability for Grade 4 Students. Bangkok: Silpakorn University.
Ministry of Education Thailand. (1999). National Education Act 1999. Bangkok: Ministry of Education Thailand.
Ministry of Education Thailand. (2008). Core Curriculum for Basic Education 2008. Bangkok: Ministry of Education Thailand.
Ministry of Education Thailand. (2009). Guidelines for Learning Management According to the Basic Education Curriculum 2008. Bangkok: Ministry of Education Thailand.
Nieto, S. (2004). Affirming Diversity: The Sociopolitical Context of Multicultural Education. (4th ed.) New York: Allyn & Bacon.
Office of the Basic Education Commission. (2015). Operation Manual Book Read Fluently Write Fluently and Able to Communicate. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Panngern, K. (2016). The Development of a Learning Activity Package to Improve the Ability to Live in Sufficiency with Critical Thinking on The Chanthaboon Riverside Community. Social Studies, Religion and Culture Subject Group of Mathayom Suksa Two Students In Satree Maepithak School (Master’s Thesis). Graduate School. Rambhai Barni Rajabhat University. Chanthaburi.
Phosri, R. (2004). Construction and Analysis of Teaching Quality. Utaradit: Faculty of Education Utaradit Rajabhat University.
Prempree, P. (2013). Developing a set of Learning Activities about the Freshwater Ecosystem for Mathayomsuksa 4 students in Prueep Witthayalai School Saraburi Province. (Master’s Thesis). Graduate School, Srinakarin Wirot University. Bangkok.
Puengpong, P. (2010). The Development of Reading and Writing Achievement with Spelling Vowels of Prathom Suksa I Students by Using Multiple Intelligence Strategies. Mind Mapping and Skill Development Exercises. (Master’s Thesis). Graduate School, Silpakorn University. Nakhon Pathom.
Sittivised, S, et al., (2017). Illiteracy of Students In Highland Area: The Causes, Problems, and Solutions. Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 12(1), 100-110.
Srikuta, L. (2010). Report on The Development of Basic Reading and Writing Skills in Thai by Using the Practice Skills for Learning Thai Language of Primary School Grade 2 Students In Academic Year 2010. Khonkan: Chumchonbanhuakhua School.
Uchupap, P. (2018). Education and Teacher Profession. Bangkok: CU Press.
Wat Pa Tham Poo Tei School. (2018). Basic statistics and Data of Wat Pa Tham Phu Toei School, Chalae Subdistrict, Thong Pha Phum District Kanchanaburi Province, Academic year 2018. Kanchanaburi: Wat Pa Tham Poo Tei School.