กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

จรูญศรี มีหนองหว้า
กชพงศ์ สารการ
ไพรวัลย์ โคตรตะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาการคิด เชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ (วิทยาลัย) 3) ทดลองใช้กลยุทธ์ และ 4) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย คือ อาจารย์ ของวิทยาลัยพยาบาล 6 แห่ง 169 คน โดยสุ่มอย่างง่าย ผู้ให้ข้อมูล 12 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน อาจารย์ ของวิทยาลัย 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สอนรับรู้คุณลักษณะการเป็นนวัตกรทางสุขภาพระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.27) มีความรู้เรื่องการคิดเชิงนวัตกรรมระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 5.47) ข้อมูลเชิงคุณภาพ พบว่าจุดแข็งคือ ผู้สอน มีศักยภาพ จุดอ่อน คือขาดความมั่นใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ และการสร้างมูลค่าของนวัตกรรม โอกาส คือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สนับสนุนการสร้างนวัตกรรม อุปสรรค คือ จำนวนผู้สอนมีน้อย และ มีข้อจำกัดระเบียบการเงินของราชการที่จะสนับสนุนการทำนวัตกรรม 2) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิทยาลัย มีดังนี้ (1) การบริหารจัดการขององค์กร มี 3 กลยุทธ์ย่อย (2) การบริหารหลักสูตร มี 5 กลยุทธ์ย่อย และ (3) การจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 1 กลยุทธ์ย่อย 3) ผลการทดลองกลยุทธ์พบว่า นักศึกษาได้ผลงานนวัตกรรม 9 ชิ้นงาน และ 4) ผลการประเมินกลยุทธ์พบว่า ความเหมาะสมระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.23) ความเป็นไปได้ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.21) และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.33)

Article Details

How to Cite
มีหนองหว้า จ., สารการ ก., & โคตรตะ ไ. (2021). กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพผู้สอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงนวัตกรรม ของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 1130–1143. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/246809
บท
บทความวิจัย

References

Ayob, A., Hussain, A., & Majid, R.A. (2013). A Review of Research on Creative Teachers in Higher Education. International Education Studies, 6(6), 8-14.

Bandansin, J. (2014). Develop the Creativity Toward the Nursing Service Innovation. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(3), 9-17.

Haruthai, C. (2014). The Strategies’ Development of National Nursing Service System from the Year 2013 to 2016. Journal of Nursing and Health Care, 32(2), 57-69.

Juntanasiri, S., & Khajonnan, N. (2015). Functional Competency Development for Lecturers of the Department of Business Administration, Faculty of Management Science, Suan Dusit Rajabhat University. Suan Dusit Graduate School Academic Journal, 11(3), 163-169.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

Norkaeo, D. (2014). The Development of Nurse Instructors’ Characteristics to Achieve Learning Organization in the Colleges of Nursing, Praboromarajchanok Institute. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 24(1), 80-91.

Nursing Division, Ministry of Public Health. (2018). Strategies of Nursing Services: National level 2517 – 2021 According to 20 years of the national strategic plan. Retrieved December 7, 2018, from http://www.nursing.go.th/Book_nurse/strategic_20/0001.pdf

Praboromarajchanok Institute. (2019). Strategies of Praboromarajchanok Institute, Higher Education Institute under the Jurisdiction of MOPH 2020 – 2024: KPI Template Manual. Bangkok: PBRI.

Sutthawart, W., & Chuntuk, T. (2016). Educational Innovator’s Potential Development Method. Veridian E-Journal Silapakorn University, 9(1), 748-767.

Sutthawart, W., & Pasunon, P. (2015). Factors Affecting Individual Innovative Behavior in The Office of Basic Education Commission. Veridian E-Journal Silapakorn University, 8(1), 530-545.

Thirawanutpong, P., & Bunprom, P. (2018). The Development of Lecturer’s Potential in higher education institutions. SKRU Academic Journal, 8(1), 33-40.

Thummachote, R. (2018). Innovative Human Resource Management of Thailand to Create Competitive Advantages in the ASEAN Community: A case study of Siam Cement Thailand Public Company Limited and Advanced Info Service Public Company Limited. Rajapark Journal, 12(26), 186-198.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for life in our Times. San Francisco: Jossey-Bass.