การนำนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายไปปฏิบัติ: กรณีแรงงานเด็กข้ามชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทยมีจำนวนลดลงตามระดับเข้มข้นของการยกปัญหาการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายให้เป็นนโยบายเร่งด่วนที่ต้องจัดการ อันเนื่องมาจากปัญหานี้มิได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลกระทบต่อนโยบายทางเศรษฐกิจภายในประเทศด้วย รัฐบาลไทยจึงให้ความสำคัญของแนวทางในการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมีเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์คือ ให้ประชาชนปลอดภัยจากการค้ามนุษย์ และแรงงานต่างด้าว/บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยเข้าสู่ระบบการจ้างแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมายได้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายกำหนด และมุ่งเน้นปกป้องและคุ้มครองกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะเด็กและสตรีเป็นพิเศษ
บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความเป็นมาของนโยบายเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายในประเทศไทยและทั่วโลกที่นำมาซึ่งการกำหนดนโยบายเพื่อป้องกันการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายภายในประเทศ และการนำมาซึ่งการปฏิบัติใช้ของตัวนโยบาย รวมไปถึงบทบาท หน้าที่ และลักษณะสำคัญของการปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผ่านการวิเคราะห์และอภิปราย 3 ด้านคือ ด้านการป้องกัน ด้านการบังคับใช้กฎหมาย และด้านการช่วยเหลือคุ้มครองเพื่อการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Inumnuay, W. (2017). Child Labor and Child Labor Protection Laws. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.
International Labour Organization. (2017). General principles and guidelines for recruiting fair employment [A.D.2016]. Geneva: Main Office.
International Labour Organization. (2017). Global Child Labour Development: Measuring trends from 2012 – 2016. Geneva: Internation Labour Organization.
International Labour Organization. (1999). Worst Forms of Child Labour Convention (No. 182). Geneva: Internation Labour Organization.
Ministry of Labour. (2015.). Yearly Report of the worst forms of child labor 2013 - 2015. Bangkok: Department of Laboour Protection and Welfare.
Ministry of Labour, National Policy and Plan to Eliminate the Worst Forms of Child Labour. Bangkok: Department of Women.
Office of the Council of State. (2017). Anti-Human Trafficking Act, B.E. 2551 [A.D.2018]. Bangkok: Office of the Council of State.
Suntorntada, K., & Phattharavanich, U. (1996). Child Labour Situation. in Seminar of Migration Child, Situation, Problem and Solutions.
Thaipublica. (2019). Sustainable Development Goals-SDGs. Retrieved June 15, 2020, from https://thaipublica.org/2019/07/thailand-sdg-index-progress-ranking
The Secretariat of the Cabinet. (2015). Ministry of Labour. (n.d.). Yearly Report of the worst forms of child labor 2013 - 2015. Bangkok. Department Laboour Protection and Welfare.
The Secretariat of the house of Representatives, (2019). Transnational crime to the stability of the country. Retrieved June 20, 2020, from https://library2.parliament.go.th/ebook/content-issue/2562/hi2562-012.pdf.
UN-ACT. (2015). Final Thai Version-guidelines on labour Trafficking. Retrieved June 15, 2020, from https://www.un-act.org//final-thai-version-guidelines-on-labour-trafficking-241-4-08