รูปแบบการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุขเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่สวนพฤกศาสตร์ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทชุมชนต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุขเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่สวนพฤกศาสตร์ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและปัจจัยเงื่อนไขของชุมชนต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุขเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่สวนพฤกศาสตร์ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อสร้างรูปแบบการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางวัด ประชา รัฐ สร้างสุขเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในพื้นที่สวนพฤกศาสตร์ดงฟ้าห่วน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน และการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบ้านหนองบัว และชุมชนบ้านหนองมะนาว มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมตามรูปแบบฮีต-คองอีสาน พัฒนาการชุมชนแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคบุกเบิก ยุคน้ำไหลไฟสว่าง และยุคของการเริ่มเป็นชุมชนกึ่งเมือง 2) สภาพปัญหาชุมชนประกอบด้วย การคมนาคมระหว่างหมู่บ้าน การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ปัญหาหนี้สินในครัวเรือน การขาดอาชีพเสริม ค่านิยมของคนในชุมชนเปลี่ยนไป โดยปัจจัยเงื่อนไขชุมชนมีผู้นำที่เข้มแข็ง มีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มีหน่วยงานรัฐสนับสนุน วัฒนธรรมประเพณีเป็นฐานรากของชุมชน โดยต้องปรับตัวให้ทันต่อปัจจัยแวดล้อมภายนอก 3) การสร้างรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้ โดยมีสามองค์กรหลักในชุมชนเป็นหน่วยขับเคลื่อนการเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยการยึดปัญหาและปัจจัยเงื่อน ของการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นฐาน แล้วสร้างรูปแบบการเรียนรู้โดยบูรณาการมิติบทบาทพันธกิจของวัด ประชา และรัฐเป็นรูปแบบการเสริมสร้างการเรียนรู้
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chareonwongsak, K. (1996). Concept of Thai education reform. Bangkok: Asia Press.
Duangpikul, K., & Metaphan, M. (2015). A Study of the Strong Community of Ban Muang Mai, Phu Pieng District, Nan Province. International Conference on Management Science, Innovation, and Technology (ICMSIT), Faculty of Management Science. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.
Department of Community Development. (2016). Community Standards (CMU). Bangkok: Department of Community Development.
Hawkins, D. I., & Mothersbaugh, D. L. (2013). Customer behavior: building marketing strategy. (12th ed). New York: McGraw-Hill Irwin.
Jantragas, A. (2000). Social capital that affects the strength of the community. (Master’s Thesis). Chiang Mai University. Chiang Mai.
Jansong, S. et al. (2018). Developing social capital to build a strong community. Journal Under the royal patronage Humanities and Social Sciences, 10(3), 273-283.
Pettinger, R. (2002). Introduction to Management. London: Palgrave.
Phrakruniwitsilakan, & Pumliang, S. (2020). The role of the Sangha and the strengthening of the community through a network Bowon in Khao Thong Sub-district, Phayuha Khiri District, Nakhon Sawan Province. Academic Journal, 3(1), 29-43.
Pengpinid, N., & Opaspattanakid, A. (2016). Factors Affecting the Success in Solving the Debt Problem of Volunteer Farmers in San Sai Sub-district, Phrao District Chiang Mai Province. Journal of Plant Science, Songkhla Nakarin, 3(I), 1-6.
Popwandee, S. (2016). What is Public-private Partnership Strategy? Retrieved December 9, 2020 from http://popwandee.blogspot.com/2015/12/blog-post_39.html.
Rodbunsong, S. (2006) Community cultural adaptation Sirikit Dam Reservoir Area, Province Uttaradit. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.
Sumungkalo, P. (2017). Social Change Affecting the Way of Life of Lawa Ethnic Group, Moo 11, Papae Sub- District, Maesariang District, Maehongson Province. Journal of Buddhist Studies, 8(2), 57-68.
Smithikrai, S. (2010). Customer Behavior. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Solomon, M. R. (2015). Customer behavior: Market survey. 11th ed. Boston: Pearson.
Sonthisuwannakul, P. (2018). Adjustment of farmers to the drought situation. In Ban Phai Chorakhe community, Bang Len District, Nakhon Pathom Province. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.
Summart, C. (2 015). Ban, temple, school: social interaction. Sustainable Human Development Cycle. Retrieved December 7, 2020 from https://www.gotoknow.org/posts/131651.
Wasee, P. (2013) . Reform Thailand for real results. Bangkok: Reform Summary Support Project Office of the National Health Commission.
Wisatnakhon, S., & Kanewan, P. (2013). Role of the Tambon Administrative Organization In strengthening the community of Ban Yang Sub-District, Lam Plai Mat District, Buriram Province. Academic Journal Buriram Rajabhat University Humanities and Social Sciences, 5(2), 121-133.
Wisutthichanon, C. (2014). Participation of the people in the conservation of folk wisdom in Klong Dan Sub-district, Ranot District, Songkhla Province. (Master’ s Thesis). Hat Yai University. Songkhla.