การส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น ในการจัดการลุ่มน้ำยม 16 สาขา จังหวัดแพร่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการดำเนินการของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำยม 16 สาขา จังหวัดแพร่ 2) ศึกษากระบวนการส่งเสริมการจัดการลุ่มน้ำยม 16 สาขาจังหวัดแพร่เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 32 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากประชาชนจำนวน 204 คนจากสูตรของ Taro Yamane โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การดำเนินการของเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นในการจัดการลุ่มน้ำยม 16 สาขาจังหวัดแพร่ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการวางแผน และค่าเฉลี่ยต่ำสุด ด้านการติดตามประเมินผลตามลำดับ 2) กระบวนการส่งเสริมการจัดการฝายขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ได้แก่ 1. หน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการวางแผนก่อสร้างฝายชะลอน้ำ 2. การจัดสรรน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำอย่างเป็นระบบ 3. มีการให้ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำ และ 4.จัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อสร้างข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้น้ำในเขตพื้นที่ชลประทาน แต่ยังขาดการให้ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำในแต่ละฝาย การพัฒนา การติดตามผล และหน่วยงานหลักในการดูแลยังไม่ให้ความสำคัญของปัญหาเท่าที่ควร ถึงอย่างไรก็ตามยังมีหน่วยงานอื่นๆ ได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือพื้นที่รับผิดชอบของทหาร โดยให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งจะมีคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำดูแลอย่างต่อเนื่อง ส่วนสำหรับชุมชนที่ไม่มีคณะกรรมการดูแลพื้นที่ฝายชะลอน้ำมักเกิดความเสียหายขึ้น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Tantas, & Thuk. (2013). Social Network Analysis of the Management of Mangrove Ecosystems: Welu River, Chanthaburi. (Research Report). Faculty of Science and Technology: Suan Dusit Rajabhat University.
Wunnasri, S. et al. (2010). Participation of Communities to Get Benefit from Natural Resources and Environmental Conservation in the Upper Pasak Basin in Lom Khoa District of Phetchabun Province. (Research Report). Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University.
Saengarthit, A. (2019). Water Management Participation: Case Study of Suankuay village, Kokthong Sub-District, Muengloei District, Loei province. (Research Report). Loel: Loel Rajabhat University.
Khawsa-ard, M. (2012). Guidelines for Water Management Policies in Thailand. The Thailand Research Fund. Retrieved January 23, 2020, from http://www.seub.or.th/libraryindex/dam/dam-020html.
ChanJob, N. (2010). Water Management for Agriculture of Ban Khao Sub-district Administration Organization Ranot District, Songkhla Province. (Research Report). KornKaen: KhonKaen University.
Meuangmoon, P. (2008). the Study of Participation in Water Management for Agriculture and Water Shortage Solutions for Farmers: A Case Study of Ban Mae Sa Mai Reservoir, Mae Rim District, Chiang Mai Province. (Research Report). Office of Graduate Studies: Mae Jo University.
Hydro - Informatics Institute (Public Organization). (2014). Water Resource Management through Royal Ideas. Utokapat Foundation.
Kaosa-ard, M. (2013). Thai water management policy. The Thailand Research Fund. Seub Nakhasathien Foundation. Retrieved January, 2018, from http://www.seub.or.th/libraryindex/dam/dam-020html.
Juntanee, A. (2006). Statistics for business research analysis. Graduate School Faculty of Management: Ayuttaya Rajabhat University.
Piekkoontod, T., & Tongpubet, T. (2013). Social Network Analysis Relating to Ecosystem Management of Welu Mangrove Forest in Chantaburi Province. (Research report). Faculty of Science and Technology: Suan Dusit Rajabhat University.
Pisalwacharin, P. (2007). Community System Management Processes in Public Policy Driven in Terms of Community Environmental Management: A Case Study in Klong Au Taphao Basin. (Research Report). Songkla: Prince of Songkla University.
Saengarthit, A. (2019). Community Participatory Process in Water Management: A Case Study in Suan Kluay Village, Kokthong Sub-district, Muengloei District, Loei Province. (Research report). Loei: Loei Rajabhat University.
ChanJob, N. (2010). Agricultural Water Management and Administration of Ban Khao Subdistrict Administration Organization, Ranot District, Songkhla Province. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Korn Kaen.
Meuangmoon, P. (2008). the Study ofAagricultural Water Management Participation and Effective Solutions for Agriculturists’ Water Shortage Problem: a Case Study in Mae Sa Mai reservoir, Mae Rim district, Chiang Mai province. (Research report). Office of Graduate Studies: Mae Jo University.