การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ

Main Article Content

จตุรงค์ ทองพันธุ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือแนวทางการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ การวิจัยเป็นแบบผสมผสานเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามด้วยเทคนิคเดลฟาย และใช้การประเมินผลของผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ และเชี่ยวชาญด้านการบริหารและด้านการพัฒนาธุรกิจ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในวิธีการเทคนิคเดลฟาย 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิผู้เข้าร่วมประเมินรูปแบบและโครงร่างคู่มือ ได้แก่ ผู้มีความรู้หรือประสบการณ์หรือความเกี่ยวข้องในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในประเทศไทย และกลุ่มผู้บริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญผู้ประเมินคู่มือ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง
ควอไทล์


ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านผู้นำ 2) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3) ด้านบริหารจัดการองค์กร 4) ด้านลูกค้า 5) ด้านบุคลากร คู่มือแนวทางการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ความสำคัญของคู่มือการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ส่วนที่ 2 การพัฒนารูปแบบธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ ส่วนที่ 3 แนวทางการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ รูปแบบการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศได้รับการประเมินความเหมาะสมโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้วยมติเป็นเอกฉันท์ และคู่มือการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมอวกาศได้รับการประเมินความเหมาะสมในการนำไปใช้เพื่อนำไปใช้พัฒนาธุรกิจเข้าสู่อุตสาหกรรมการบินและอวกาศได้   

Article Details

How to Cite
ทองพันธุ์ จ. (2022). การพัฒนารูปแบบการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1284–1298. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/246127
บท
บทความวิจัย

References

Arif, M. et al. (2017). Role of Leader-Member Exchange Relationship in Organizational Change Management: Mediating Role of Organizational Culture. International Journal of Organizational Leadership, 6(1), 32-41.

Geo-Informatics and Space Technology Development Agency. (2016). Analysis of Thailand's Competitiveness Ranking. Bangkok: N.P.

Goleman, A. (2017). The Energizing Nature of Work Engagement: Toward a New Need-Based Theory of Work Motivation. Research in Organizational Behavior, 3(7), 1-18.

Hartmann, D., King, J., & Narayanan, T. (2015). Alignment to Achieve Recognition for Excellence. Performance Management for the Oil, Gas, and Process Industries, 8(4), 609-622.

Jankalová, M. (2012). Business Excellence Evaluation as the Reaction on Changes in Global Business Environment. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 6, 1056-1060.

Kiseleva, K. et al. (2018). The Theory and Practice of Customer Loyalty Management and Customer Focus in the Enterprise Activity. International Review of Management and Marketing, 6(6), 95–103.

Office of the Board of Investment. (2016). Creating a Sustainable Business Organization. Bangkok: N.P.

Office of Transport and Traffic Policy and Planning. (2016). Sustainability Report. Bangkok: N.P.

Rachinger, B. et al. (2018). Reading the Room: Leveraging Popular Business Books to Enhance Organizational Performance. Business Horizons, 61(2), 191-197.

Seiichi, N. (2016). What Do We Really Know about Employee Engagement. Human Resource Development Quarterly, 25, 155-182.

Shah, S., & Beh, L. (2016). The Impact of Motivation Enhancing Practices and Mediating Role of Talent Engagement on Turnover Intentions: Evidence from Malaysia. International Review of Management and Marketing, 6, 823-835.

Srisutsawat, S. (2019). Space Industry '1 in 10S Curve Target Industry Handicap Pushes Thailand towards the Aerospace Hub of ASEAN. Bangkok: N.P.