รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา

Main Article Content

ณัฐธพงษ์ มะลิซ้อน
สมพร เหลาฉลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์การจัดการเรียนรู้ในสถาบันอุดมศึกษา 2) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ปัญหาและอุปสรรค และการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา 4 สถาบัน โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก สัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์จัดการเรียนรู้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด นอกจากนั้น มีความเป็นกันเองของศิษย์กับอาจารย์ ปัญหาและอุปสรรค ในการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษา ด้านภาษาบาลี เป็นพื้นฐานที่นักศึกษาต้องเรียนปรับพื้นฐาน ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในสถาบันอุดมศึกษาได้ 3 รูปแบบ คือ 1.รูปแบบการจัดการศึกษาเรียนรู้ ปัจจัยนำเข้า โครงสร้างของหลักสูตร ประกอบด้วย ตัวหลักสูตร การบริหารหลักสูตรโดยผู้บริหารและคณาจารย์ประจำหลักสูตร ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน คือการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตร การจัดกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน - ผลลัพธ์ การวัดประเมินผลตามหลักสูตร – นำไปใช้ได้จริงนักศึกษาจบออกไปสอบบรรจุในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ 2) เจดีย์โมเดล รูปแบบเจดีย์โมเดล เป็นการพัฒนาจากหลักการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนากับประยุกต์การเรียนรู้ในปัจจุบัน ตามไตรสิกขา 3) เจดีย์คู่ตามศตวรรษที่ 21 3R 4 C มาตรฐานอุดมศึกษา คือฐานความรู้นักศึกษาควรมีมาตรฐานอุดมศึกษา มาตรฐานด้านคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักกัลยาณมิตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anantaworasakul, A. (1996) . Conditions and problems of teaching Buddhism in secondary schools. Bangkok: Chulalongkorn University.

Anantaworasakul, A. (2012). Environmental Studies Report for Sustainable Development of Thailand 2009-2010. Bangkok: Ministry of Natural Resources and Environment.

Buddhadāsa Bhikkhu. (2010). Dhammapatimok, lem 1 Chut Thammakhot 31, Chaiya, 1975. (3rd ed.). Bangkok: Amarin Publishing.

Songprasit, C., & Wattananarong, K. (2015). Development of a learning model for art writing of fine arts students Photographic Arts. Journal of Industrial Education, 6(1), 53-61.

Kaweerat, K. (2010). Development of experiential learning models to enhance the well being for students. Rajabhat University. Doctoral thesis. Bangkok: Silpakorn University.

Mahamakut Buddhist University. (1998). Graduation Ceremony, Bachelor of Science, Class 44. Mahamakut Buddhist University, 1998. 11. Mahamakut Buddhist University.

Pengchan, P. (2001). India: From Buddhism's Birth to Colonial Liberation.Retrieved September 6, 2019 from http://www.midnightuniv.org/midnight2000./.html>.

Prapnok, P. (2012). The status of Buddhism learning and teaching in Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. Humanities and Social Sciences, 29(3), 107-123.

Phrakhru Wisutthananthakhun (Surasak Wisutthajaro). (2015). Temple Management for Security Buddhism. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Phra Dharmakosajarn (Prayoon Dhamachitto). (2010). Methods of Integrating Buddhism and Modern Science. Retrieved October 15, 2019, from http://www.mcu.ac.th›article.

Thadkaew, W. (2013). Thai Post Newspaper Retrieved October 20, 2019, from http://www.woratant@posttoday.com.