การเสริมสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลการแข่งขันในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร

Main Article Content

สาธิตา วิมลคุณารักษ์
นิสิต อินทมโน
ธีรเดช มโนลีหกุล
วรรณวิภา เมืองถ้ำ
ภาณุมาศ ขัดเงางาม
สันทัด ทองรินทร์
สมบัติ พันธวิศิษฏ์
อัคคัญญ์ นรบิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือในการกำกับดูแลการแข่งขันของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ โดยโครงการวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร การจัดประชุมกลุ่มย่อย และการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็น


ผลการวิจัย พบว่า พัฒนาการทางเทคโนโลยีและรูปแบบการประกอบธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ที่ได้ส่งผลกระทบต่อการกำกับดูแลการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ในบางกรณีลักษณะธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่มีความซับซ้อนและยังไม่มีความชัดเจนว่าอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานใดเพราะมีการรวมการบริการหลายอย่างเข้าไว้ด้วยกัน นอกจากนี้หน่วยงานกำกับดูแลยังพบข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานอื่นเพื่อประกอบการดำเนินการตามกฎหมาย ปัญหาเหล่านี้ถือเป็นความท้าทายต่อหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันมากยิ่งขึ้น เพราะเพียงหน่วยงานเดียวอาจไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากปราศจากความร่วมมือจากหน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่าประเด็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลของไทยและต่างประเทศที่แตกต่าง คือ หน่วยงานกำกับดูแลของต่างประเทศมีการทำความตกลงร่วมมือกันในการทำงานเชิงบูรณาการ และเป็นระบบมีกฎเกณฑ์ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน และกำหนดกรอบระยะเวลาในการปฏิบัติในแต่ละเรื่องที่ชัดเจน พร้อมทั้งมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนมากกว่ากรณีของประเทศไทย โดยผลการวิจัยได้เสนอแนวทางเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในรูปแบบทั้งความร่วมมือที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการประกอบกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Australian Communications and Media Authority. (2019). ACMA Overview. Retrieved June 14, 2019, from https://www.acma.gov.au/theACMA/About/Corporate/Structure-andcontacts/the-acma-overview-acma/.

Competition and Markets Authority. (2013). Towards the CMA –CMA Guidance. Retrieved June 20, 2019, from https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/212285/CMA1_-_Towards_the_CMA.pdf

Department of Justice. (2013). The Communication Act of 1934. Retrieved August 17, 2019, from https://it.ojp.gov/privacyliberty/authorities/statutes/1288./

Federal Communications Commission. (2019). What We Do. Retrieved May 11, 2019, from https://www.fcc.gov/about-fcc/what-we-do./

GOV.UK. (2019). UK Competition Network. Retrieved June 11, 2019, from https://www.gov.uk/government/groups/uk-competition-network/.

Groshinski, K., & Davies, C. (2015). Competition Law on Asia Pacific :A Practical Guide. United States: Kluwer Law International.

Info-communications Media Development Authority of Singapore. (2019). Frameworks and Policies. Retrieved May 5, 2019, from https://www.imda.gov.sg/regulations-licensingand-consultations/frameworks-and-policies/.

Hilke, J.C. (2006). Improving Relationships Between Competition Policy And Sectoral Regulation. Retrieved May 5, 2019, from http://www.oecd.org/daf/competition/prosecutionandlawenforcement/38819635.pdf

Malaysia Competition Commission. (2017). MyCC’s First Special Committee Meeting on Competition For 2017”, News Release. Retrieved May 8, 2019, from https://aseancompetition.org/read-news-myccs-first-special-committee-meeting-on-competition-for2017

Maltas, A. et al. (2016). Competition Law in Asia-Pacific A Guide to Selected Jurisdictions 2018 : Singapore. Retrieved May 29, 2019, from https//:www.oecd.org /daf/competition/Competition-Law-in-Asia-Pacific-Guide2018.pdf.

Practitioner’s Perspective. (2018). The Antitrust Source. Retrieved August 11, 2019, from https://www.americanbar.org/content/dam/aba/publishing/antitrust_source/aug16_maltas_8_5f.authcheckdam.pdf.

Miller, V. (2011). Understanding Digital Culture. London :SAGE Publications.