การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในยุคปัจจุบัน

Main Article Content

พระมหาจีรวัฒน์ กนฺตวณฺโณ
พระมหามงคลกานต์ ฐิตธมฺโม
เสนาะ ผดุงฉัตร
พูนศักดิ์ กมล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อพัฒนาหลักการและวิธีการการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยชิ้นนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเกณฑ์ในการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้นำทางพระพุทธศาสนา ผู้นำชุมชนและผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่บริเวณบ้านอังกัญหมู่ 4 บ้านโคกบรรเลง หมู่ 10 ต.บุฤาษี อ.เมือง จ.สุรินทร์ ได้แก่ เจ้าอาวาส พระ ผู้นำชุมชน ประธานองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนทั่วไป และครู เยาวชน ในชุมชนชาวพุทธ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ในแต่ละประเด็นตามวัตถุประสงค์ในการวิจัยที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยพบว่า การใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในการพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในศตวรรษที่ 21 ในชุมชนบ้านอังกัญหมู่ 4 บ้านโคกบรรเลง หมู่ 10 ต.บุฤาษี อ.เมือง จ.สุรินทร์ พบว่า (1) ควรมีการพัฒนาคนในชุมชนในเรื่องของอาชีพให้มีความมั่นคงและมีคุณธรรม ด้วยการวางแผนการพัฒนา ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและขอความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชน ในการส่งเสริมอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ในการที่เพียงพอต่อการดำเนินชีวิต ควบคู่ไปกับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม (2) การพัฒนาคนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ควรมีการพัฒนาคนในชุมชนในเรื่องของการมีจิตอาสาและจิตสำนึกในการรับผิดชอบร่วมกัน พร้อมกับการวางแผนพัฒนาส่งเสริมคนในชุมชนให้ลงมือปฏิบัติและสร้างเครือข่ายของการทำงานร่วมกัน (3) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนต้องเป็นกิจกรรมที่คนส่วนใหญ่ในชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นปัญหาของชุมชนรวมทั้งสามารถกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

How to Cite
กนฺตวณฺโณ พ. ., ฐิตธมฺโม พ. ., ผดุงฉัตร เ. ., & กมล พ. . (2021). การพัฒนาคนในชุมชนชาวพุทธในยุคปัจจุบัน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2656–2664. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/245351
บท
บทความวิจัย

References

Arunnakasikon, T. et. al. (2003). Child Protection Act along with Ministerial Regulations, National Child Protection Committee and Ministry of Social Development and Human Security regulations. Bangkok: Winyuchon Publication House.

Buddhagosa, K. (2011). The Complete Guide book for Community Development Learning. Bangkok: National Research Council of Thailand.

Chaima, S. (2001). The wisdom in Lanna's way of life. (2sd ed.) Bangkok: The Local Curriculum Development Project in Rong Kwang Anuson School.

Kudnok, D. (2008). the Strategy of Youth Camp Activity for Development to Enhance the Students Life Skills in Non-Hom Subdistrict, Amphoe Mueang, Sakon Nakhon Province. (Master’s Thesis). Sakon Nakorn Rajabhat University. Sakon Nakorn.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Maliwan, P., & Malathong, S. (1990). The History of Buddhism. Bangkok: Religion Printing. National Youth Bureau. n.d.

Ngamchitcharoen, V. (2018). Theravada Buddhism. (3rd ed.) Bangkok: Thammasat Printing House.

Phra Dhampiṭaka (P.A.Payutto). (2005). Dictionary of Buddhism. (13rd ed.) Bangkok: S. R. Pringting.

Suksamran, S. (1987). The development from Buddhism way: A case study of the monk developer. Bangkok: The social sciences research association of Thailand.

Wasi, P. (1997). Monks and social awareness. Bangkok: Moa Chao Ban Printing.