รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29

Main Article Content

สุมาลี ไสยรินทร์
จิณณวัตร ปะโคทัง
ณัฐกิตต์ สวัสดิ์ไธสง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองรูปแบบ และ 4) นำเสนอรูปแบบ รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันเพื่อหาองค์ประกอบการการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบและประเมินร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการศึกษาสภาพการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ประกอบด้วย 3 ส่วน 8 ด้าน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) เป้าหมายของรูปแบบ, ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย 2 ด้าน คือ (1) องค์ประกอบของรูปแบบ (2) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ และส่วนที่ 3 ส่วนการนำไปใช้ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบ (2) แนวทางการประเมินรูปแบบ และ (3) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสูงขึ้นในระดับมากที่สุด 4) ผลการนำเสนอ และประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chiangkool, W. (2016). The status of Thai education, years 2014-2015: How to reform Thai education to keep pace with the world in the 21st century. Bangkok: Pimdeekarnpim Co.

Chansiri. W. (2008). Development of Core Competencies of Support Administrators in Public University. (Doctoral Dissertation). graduate school: Mahasarakham University. Mahasarakham.

Mitchell, A. (2012). Learning by Doing: Twenty Successful Active Learning Exercises For Information Systems Courses. Journal of Information Technology Education: Innovations in Practice, (16), 21-46.

Panich, V. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Retrieved June, 21, 2017, from http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf.

Toole, J.C. & Seashore Louis, K. (2002). The Role of Professional Learning Communities in International Education. In Leithwood, K. & Hallinger P. (Hrsg.) International Handbook of Educational Leadership and Administration. Dordrecht: Kluwer Academic Press.

Wanta, P. (2010). School Learning Organization under Minburi District Office Bangkok. (Master’s Thesis). Burapha University. Chonburi.

Uasiriponrit, S. (2004) . A Development of Composite Indicators of Learning Organization of Basic Education Institutions in Southern Provinces. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Nakhon Pathom.