ปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554 – 2563 ของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Main Article Content

กฤษรุจ พิมพะไชย
ไชยา ยิ้มวิไล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ. 2554 – 2563 ของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี จาก 14 แห่ง จำนวน 328 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ ปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคลแต่ละด้านทั้ง 4 ปัจจัย อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ (x ̅ = 4.34) ปัจจัยด้านเจตคติ (x ̅ = 4.30) ปัจจัยด้านความรู้ (x ̅ = 4.22) และปัจจัยด้านค่านิยม (x ̅ = 4.18) และ 2) ผลการศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ ระดับการมีส่วนร่วมแต่ละด้าน ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ การมีส่วนร่วมด้านรางวัลตอบแทน (x ̅ = 4.29) ด้านสิ่งแวดล้อม (x ̅ = 4.26) ด้านปัจจัยภายในตัวบุคคล และด้านปัจจัยผลักดันจากบุคคลอื่น มีค่าเฉลี่ยเท่ากันคือ (x ̅ =4.22) และ 3) ผลการศึกษา ปัจจัยสมรรถนะส่วนบุคคล ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านเจตคติ ด้านค่านิยม ด้านแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boyatzis, R.E. (1982). The Competent Manager: A model of Effective Performance. New York: John Wiley and Sons Inc.

Department of Health Service Support. (2019). Handbook for village health volunteers for Upgrade to a village health doctor. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Herzberg, F. et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons. Insīsungworn, C. (2009). Public participation in development plan Three years. Chiang Rai: Chiang Rai Rajabhat University.

Kasemsuk, C. (2011). Principles of participation in sustainable community development. Bangkok: The Publisher of Chulalongkorn University.

Khamphor, P. et al. (2001). The role of public participation and administrative organization Subdistrict in using Thai traditional medicine for self - care in the community. Khon Kaen: Department of Public Health Management Faculty of Public Health Khon Kaen University.

Kāṅpeṅ, S. (2002). Theory of participation in organization. Bangkok: Chuan Pim.

Ministry of Public Health. (2020). Surveillance operations for COVID-19 in the community. from Retrieved August 21, 2020, from http://www.hsscovid.com/filesCOVID-19SurveillanceOperations.pdf

Office of the National Economic and Social Development Board. (2010). Social Security or Social Security Year 2553. (Online). Retrieved March 6, 2016, from http://social.nesdb.go.th/.

Office of the Primary Health Care Commission. (1999). A Guide for Staff in Operations Regarding Public health volunteers. Bangkok: ETO.

Piapheng, S. (2009). Public Participation in the Formulation of a Three-year Development Plan of Sang Paen Subdistrict Administrative Organization, Phen District, Udon Thani Province. (Master’s Thesis). Graduate school: Chulalongkorn University. Bangkok.

Pryor, J. ( 2005). Can Community Participation Mobilise Social for Improvement of Rural Schooling A Case Study from Ghana. Journal of Taylor and Francis, 35(4), 193 – 203.

Primary Health Care Division, Ministry of Public Health. (2019). Health Volunteers. Retrieved April 26, 2020, from http://www.thaiphc.net/new2020/content/1.

Spencer M. L., & Spencer, M. S. (1993). Competence at work: Models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.

Srivanichakorn, S. et al. (2010). Research for the development of primary care units. Nakhon Pathom: Community Health System Research and Development Office (NEP).

Srisa-ard, B. (2002). Preliminary research. (7thed.). Bangkok: Suwiriyasan.

Sufficiency Economy Study Center National Institute of Development Administration. (2008). Philosophy of Economy Sufficient with development management. Bangkok: National Institute of Development Administration.

Waḍhanasat, W. et al. (2008). Bilateral system and labor problem solving in state enterprises. Seminar documents State Enterprise Relations Division Department of Welfare and Labor Protection. Ministry of Labor.