การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 410 คน สุ่มอย่างง่าย จากผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ หรือครูที่รับผิดชอบงานวิชาการ ของโรงเรียนจำนวน 428 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าได้รูปแบบการบริหารจัดเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยคือสามองค์ประกอบคือองค์ประกอบที่หนึ่งคือความนำ ประกอบด้วย 1) หลักการประกอบด้วยสามหลักการ คือหลักการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หลักการจัดการแบบบูรณาการ และหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) วัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 ไปใช้เป็นตัวแบบ หรือปรับประยุกต์รูปแบบการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตไปใช้ในบริบทของสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร แต่ละแห่งตามความเหมาะสม 3) ภาพความสำเร็จของทักษะชีวิตของผู้เรียนในความต้องการจำเป็นมีสามประการคือนักเรียนสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดสร้างสรรค์ นักเรียนรู้จักตัดสินใจและแก้ปัญหา และนักเรียนเห็นใจผู้อื่นองค์ประกอบที่สองคือ การบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร และองค์ประกอบที่สามคือ เงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 1) บทบาทของผู้บริหารกลุ่มนโยบาย 2) บทบาทของกลุ่มผู้ปฏิบัติ 3) บทบาทของกลุ่มเครือข่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Buasri, T.(1999).Course Theory:Design and Development. (2nd Edited).Bangkok: Thanatouchkarnpim Co, Ltd.
Chaiyaler, S. (2015). Problem Solving Ability of Grade 6 Students Through Problem-Based Learning. (Master’s Thesis). Chiang Mai University.
Chell, J. (2001). Introducing Principals to the Role of Instructional Leadership. SSTA Research Centre Report, 95(14), 73.
Department of Mental Health. (1999). Strategic Plan by National Economic and Social Development Plan Issue 10 (2007 – 2011). Bangkok: Lamom Ltd., Co.
Maesince, S. (2013). World Change Thai Shift. Bangkok: Krungthepturakij.
Office of the Basic Education Commission. (2018). Quality Assessment Guidelines by Basic Education Stadards for Internal Quality Assurance of Schools. Bangkok: Office of Buddhish of Thailand.
Panthong, K. (2007). A Study and Development of Social Empathy of Adolescent Students. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University.
Pupirom, S. (2010). The Critical Thinking Abilities and Satisfaction with Younisomanasikara Teaching Method of Pratomsuksa 6 Students at Sananarongwittaya School, Songkhla. (Doctoral Dissertation). Taksin University.
Rinsiri, Salita. (2015). Student-Center Teaching Management in Schools at Ko Chang District under Chonburi Primary Educational Service Area Office 2. (Master’s Thesis). Educational Administration. Burapha Unviersity.
Rungnapa, N. (2009). Standards-based curriculum Quality development. Academic Journal Bureau of Academic Affairs and Educational Standards, 12(4), 57-61.
Sangaussanee, A., & Boonyasiri, P. (2008). Development of Basic Education Curriculum for Elementary Students of Kasetsart University Laboratory School. Center for Educational Research and Development. Bangkok: Publisher of Kasetsart University.
Sinpanont, S. (2017). Modern Teacher and Learning Management to Education 4.0. Bangkok: 9119 Technical Printing Limited Partnershop.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace and World.
Tientong, S. (2010). The Development of Problem Solving Abilities of Fifth Grade Students Taught by Problem-Based Learning Approach. (Master’s Thesis). Silapakorn University.
Thongguad, Jitraporn. (2012). A Study and Development of Empathy of Secondary Education Students. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University.
Thumthong, B. (2010). Curriculum Development. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.
Wasupatr, S. (2008). Instructional Leadership and Competency of Principal Affecting the Success of School-Based Management. (Doctoral Dissertation). Educational Administration. Kasetsart University.
Wichipatcharaporn, W. (2018). Policy Implementation, Concepts, Processes in Educational Organizations. Bangkok: Vista Inter Pint Co, Ltd.
Wongyai, W. (2000). Curriculum Development and Teaching. Bangkok: Rungreungtham.
World Health Organization (WHO). (1994). Coming of Age from Facts to Action for Adolescent Several Reproductive Health. Geneva: World Health Organization.
Yavaprabhas, S. (2014). Public Policy. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.