กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากร ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เอกลักษณ์ นาคพ่วง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการใช้ประโยชน์ทรัพยากร 2) กระบวน การสร้างจิตสำนึก และ 3) หาแนวทางการพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ ตัวแทนประชาชน ผู้นำชุมชน กลุ่มอาชีพและหน่วยงาน การสัมภาษณ์ เชิงลึก จำนวน 140 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสัมภาษณ์ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนมีความต้องการใช้ประโยชน์ในบึงบอระเพ็ด ในด้านที่อยู่อาศัย ด้านเกษตรกรรม ด้านทำการประมง ด้านเลี้ยงสัตว์ ด้านประโยชน์จากบัว ด้านการท่องเที่ยว และด้านร้านจำหน่ายอาหารและของฝาก 2) กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากร มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความเข้าใจกับประชาชน การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ การโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ การชักนำให้นำไปปฏิบัติ การตอกย้ำให้มีความต่อเนื่อง และยกย่องและนำไปเผยแพร่ และ 3) นำเอากระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรไปปฏิบัติติให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
นาคพ่วง เ. (2021). กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากร ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2074–2087. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/244772
บท
บทความวิจัย

References

Bueng Boraphed Research and Training Center. (2015). Bueng Boraped management plan. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Campus Establishment Project Mahidol University.

Ketsriphongsa, U. (2017). The model of creating local awareness for the preservation of the community forest, especially in KhokKlang Subdistrict, Lam Plai Mat District Buriram province. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University, 12(1), 48-60.

Khotmongkol, P. (2009). People Participation in Natural Resources Conservation: A Case Study of Phanom Dongrak Wildlife Sanctuary, Sisaket Province. ( Master’s Thesis) . Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Namwa, W. (2016). Planting awareness of natural resource and environment preservation for the Mekong River Basin youth. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Phromkan, A. et al. (2015). The model of large-scale marsh development with participation in Thai society. Nakhon Sawan: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Nakhon Sawan Campus.

Saenmueang, K. (2011). A case study of the process of raising public consciousness in waste management for biogas production of Saha Asoke community. ( Master’s Thesis). Ubon Ratchathani University. Ubon Ratchathani.

Wilasari, J. (2016). Development of Local Knowledge Center for Conservation of Natural Resources and Environment in Sam Chai District, Kalasin Province. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. Pathum Thani.