การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

Main Article Content

ทิตาวีร์ เทศะปุรณะ
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการและรูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ของภาคอุตสาหกรรม ที่ดำเนินการร่วมกับชุมชน และ 2) ศึกษาขั้นตอนการมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ระหว่างบริษัทฯ ที่เข้าร่วมโครงการความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน และบริษัทฯ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก พร้อมการสังเกตกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องสำคัญ 2 กลุ่ม ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้นำชุมชนและชาวบ้าน ระหว่าง บริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสถานประกอบการรวมพลังสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน กับบริษัทอีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ของทั้งสองบริษัทเป็นไปตามเกณฑ์ประเมินตามหลักการมาตรฐานการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ที่กรมโรงงานกำหนด โดยบริษัทสหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) มีผลการประเมินตามหลักการมาตรฐานได้ครอบคลุมกว่า และ 2) ด้านการศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน บริษัท สหอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ยังไม่ชัดเจนในการมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ ส่วนบริษัทอีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ไม่พบการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการประเมินผล ทั้งนี้เพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ควรสร้างความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมตามมาตรฐานสากล และบูรณาการทั่วทั้งองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonwanich, R. (2009). Level of Community participation in Corporate Social Responsibility (CSR-DIW) of Department of Industrial Works. I.D. All Digital Print.

Boonyarattapun, P. (1974). Community Empowerment by Community Development Movement. Bangkok. N.P.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Development participation: Concept and measure for project design implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Dennis, M. (2002). The relation between environmental performance and environmental disclosure. Accounting, Organizations and Society. Illinois: Illinois State University.

Department of Industrial Works. (2011). Corporation Social Responsibilities standard of Organization. Bangkok: Phraya Printing and Publishing.

International Organization for Standardization. (2010). ISO 26000 Social Responsibility. Geneva: The Organization. International Organization for Standardization.

Jirawuttinunt, S. (2014). The impact of corporate social responsibility in human resource management on performance of private hospital in Thailand. Modern Management Journal, 12(1), 98-109.

Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility. Doing the most good for your company and cause. Hoboken, New Jerry: John Wiley and sons.

Nitchanpansri, N., & Kleechaya, P. (2012). Creating a questionnaire for corporate social responsibility evaluation of Thai firms. Journal of Public Relations and Advertising, 5(2), 59-86.

Sanyawiwat, S. (1991). Thai Knowledge: Bangkok. N.P.

Siroros, P. (2003). Public participation. Bangkok: Thammasart University.

Sophonpanthanon, T. (2011). Participation Process. Nakhonpathom: Silpakorn University.

Thaipat Institute. (2012). CSR Thailand: 50 Good Practices in 2012. Retrieved October 30, 2013, from http://www.thailca.com/csrclub/images/downloadPDF.pdf

Wutthimethee, Y. (1991). Community Development from Theory to Practice. Bangkok: Bangkok Box.

YangNgam, P., & Mhanpakdi, P. (2015). People participation process. In website, Retrieved December 18, 2015, from http://www.industry.go.th/industry/index.php/th/knowledge/item/10617-2016-05-23-05-55-23