การพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับผล การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคนิคการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับผลการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) รายวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานในการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มย่อย แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการสอน และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเคราะห์และนำเสนอโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูส่วนใหญ่ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยตัวแปรที่ได้จากการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ ตั้งแต่ .563 - .768 มีค่าความแปรปรวนของตัวแปร เท่ากับ 19.282 และค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 64.273 ของความแปรปรวนทั้งหมด 13 ตัวแปร 2) เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ใช้ในชั้นเรียน คือเน้นการปฏิบัติต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถานศึกษา 3) เทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ครูสอนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานครใช้ คือ เน้นการท่องจำคำศัพท์ การเรียนรู้โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ มุ่งทบทวนและเน้นการติวทำข้อสอบโอเน็ตในปีที่ผ่าน ๆ มา อย่างต่อเนื่องทั้งในและนอกเวลาเรียน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Barber, M., & Moushed, M. (2007). How the World Best-Performing Systems Come Out on Top. Chicago: McKinsey&Company.
Migyanka, J. M., Policastro, C., & Lui, G. (2005). Using a think-aloud with diverse students: Three primary grade students experience chrysanthemum. Early Childhood Education Journal, 33(3), 171-177.
Woramat, N. (2008). Development of English learning by using activity-based learning activities. Of Prathom Suksa 4. students (Master’s Thesis). Udonthani Rajabhat University. Udonthani.
Office of the Education Council : ONEC. (2019). National educational standards 2018. Bangkok: 21 Century Company Limited.
Ngamphong, P. (2018). The Development of English Learning Achievement Focusing on Task Based Learning and Group Process of Elementary School Students. (Master’s Thesis). Graduate School: Suan Sunandha Rajabhat university. Bangkok.
Mekha, W. (1999). Problems related to learning English of night class undergraduate students in the two-year continuing program of Dhurakijpundit University. Kasetsart University. Bangkok .
Wihakato, P. (2003). Research synthesis on English Language Learning and Teaching. Academic Journal, (nd), 24-29.