รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุพิชญ์ชญา มีแแก้ว
นเรศ ขันธะรี
จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัลโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงศึกษาโรงเรียนต้นแบบโดยการสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และ ครู จำนวน 3 โรงเรียน 9 คนและการศึกษาเชิงปริมาณสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้ตารางเครซีและมอร์แกน จำนวน 236 คน (2) สร้างรูปแบบ โดยการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 14 คน (3) ทดลองใช้รูปแบบ 1 โรงเรียนโดยเลือกแบบเจาะจง และ (4) ประเมินรูปแบบ โดยประเมินผลจากกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล มีการสร้างเครือข่ายและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แต่ยังขาดการนิเทศการสอนและการประเมินผลที่หลากหลายให้ก้าวทันยุคดิจิทัล 2) รูปแบบในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล พบว่ามี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาตนเอง ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล การนิเทศการสอนและประเมินผล และ การสร้างเครือข่าย และเทคโนโลยีการสื่อสาร 3) ผลการทดลองรูปแบบ ได้รูปแบบที่มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล กลุ่มทดลองใช้มีความพึงพอใจในรูปแบบและคู่มือ 4) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบพบว่านำไปใช้ได้ โดยการใช้คู่มือการดำเนินการตามรูปแบบ

Article Details

How to Cite
มีแแก้ว ส., ขันธะรี น., & ปะโคทัง จ. (2021). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในยุคดิจิทัล โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 1952–1963. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/244653
บท
บทความวิจัย

References

Asawaphum, S. (1994). Development of Provincial Primary Education Administration Model. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Ministry of Education. (2008). Guidelines for Assessment and Evaluation of Learning According to Education Core Curriculum Basic, B.E. 2551. Bangkok: Ministry of Education.

Ministry of Education. (2010). Guidelines for Assessment and Evaluation of Learning According to Education Core Curriculum Basic, B.E. 2553. Bangkok: Ministry of Education.

Meechai, W. (2013). Instructional Leadership Affecting Academic Administration in the School under the Khonkaen Provincial Administrative Organization. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.

Pakotang, J. (2018). Digital leadership for professional school administrators. Ubon Ratchathani: Siritham Offset Printing House.

Runchareon, T. (2007). Model and model development. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani Rajabhat University.

Srinutphong, S. (2014). A Model for Developing Academic Leadership which Promote Learning with Information Technology in Basic Education Institutes. (Doctoral Dissertation). Eastern Asia University. Pathum Thani.

Sudchadee, N. (2010). Administrator’s Transformational Leadership Affecting Core Curriculum Management Basic Education of B.E. 2551 of the Curriculum Implementation Schools in Khon Kaen Province. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.