กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

จิราภรณ์ จันทา
ธิดารัตน์ จันทะหิน
จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อสร้างกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีวิจัยแบบผสม ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยมี 4 ระยะดังนี้ 1) การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 260 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และศึกษาสถานศึกษาต้นแบบ 3 แห่ง 2) การสร้างกลยุทธ์ กลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 3) การทดลองใช้กลยุทธ์ กลุ่มเป้าหมายคือผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 23 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง 4) การประเมินกลยุทธ์ กลุ่มเป้าหมายคือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 21 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) การพัฒนาระบบที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผล ระบบการประกันคุณภาพภายใน 2) การพัฒนาครู และบุคลากรในสถานศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พัฒนาครูให้มีสมรรถนะการวิจัย การเรียนการสอนและการใช้เทคโนโลยี 3) การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 4) การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ประกอบด้วย การจัดระบบการเตรียมความพร้อมด้านผู้เรียนและระบบการเรียนรู้ 5) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาระบบเครือ ข่ายอินเตอร์เน็ต 6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย การสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน 7) การสร้างเครือข่ายสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วย การตั้งเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาที่เข้มแข็ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bovee, C., et al. (1993). Management. New York: McGraw-Hill.

Chaimusik, S. (2001). School Based Management for Educational Quality Assurance. Bangkok: Book point.

Chenaksara, N. (2003). “Environment and community analysis” in Instructional Materials: Profession Experience in Education Administration for Graduate Diploma Program Unit 1-5. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University.

Gllbertson, K. (2006). Outdoor Education: Methods and Strategies. Human kinetics Pub Incorporated.

Martinez, M., & Wolverton, M. (2009). Innovative Strategy Making in Higher Education. Age: U.S.A.

National Education Commission Office. (2002). National Education Act B.E. 2542 and Amendments Second National Education Act B.E. 2545. Bangkok: Prigwhan Graphic.

National Education Commission Office. (2008). The strategies for Development of Educational Assurance: National Agenda (2008-2012). Bangkok: The Office of National Education Commission.

National Education Commission Office. (2017). National Education Plans 2017-2036. Bangkok: Prigwhan Graphic.

Nitchanet, C. (1999). Guideline for Research and Report, 2535101 Guide for Development and Development Strategy. Specific requirement course. (Master’s Thesis). Phuket Rajabhat University. Phuket.

Pakotung, J. (2013). Management Strategies for Quality Development. Ubon Ratchathani: Siritham Offset Press.

Thompson, A., & Strickland, A.J. (1999). Strategic Management: Concepts and Cases. (11thed.). New York: McGraw-Hill.

Phakkaphasviwat, S. (2000). Business Competition Strategies. Bangkok: Matichon.

Shejaiin, A. (2009). Proposed Academic Administration Strategies Based on an Educational Quality Assurance System in Small Multigrade Elementary Schools. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.