อนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูปฐมวัยในสภาพปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาอนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572) และ 3) เพื่อนำเสนออนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572) ด้วยระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย 21 คน การศึกษาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของคุณลักษณะของครูปฐมวัย ระยะที่ 2 ศึกษาอนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572) ระยะที่ 3 การนำเสนออนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและ 2) แบบสอบถาม เป็นแบบมาตรตราประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการศึกษาสภาพปัจจุบันของคุณลักษณะของครูปฐมวัย พบว่า มีหลายหน่วยงานในระดับนโยบายได้มีกำหนดมาตรฐานและคุณภาพครูปฐมวัย 2. อนาคตคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2562-2572) ประกอบด้วยด้านต่าง ๆ 6 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ ความสามารถ 2) ด้านบุคลิกภาพ 3) คุณลักษณะด้านคุณธรรมและจริยธรรม 4) ด้านทักษะการแสวงหาความรู้และการใช้เทคโนโลยี 5) คุณลักษณะด้านการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองการพัฒนาตนเองและการพัฒนา และ 6) ด้านการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 3. อนาคตภาพคุณลักษณะของครูปฐมวัยในทศวรรษหน้า (2562-2572) มีแนวโน้มความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุดและระดับมาก ประกอบด้วย 6 ด้าน มีความเห็นสอดคล้องกับแนวโน้มความเป็นไปได้ทั้งระดับมากที่สุด และระดับมากทุกด้าน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bellanca, J., & Brandt, R. (2019). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. (W. Wongkitrungruang and A. Chittarerk, Trans.). Bangkok: Openworld.
Fishman, J. J. et al. (2003). Linking Teacher and Student Learning to Improve Professional Development in Systemic Reform. Teaching and Teacher Education, 19, 643-658.
National Education Act of B.E.2542. (1999). And Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002). Government Gazette. Volume 119 Part 123a.16-21.
National Education Act of B.E.2562. (2019). Government Gazette. Volume 136 Part 57a. 49-53.
Office of the Basic Education Commission. (2009). The Guideline for Measuring and Evaluating the Learning Outcomes in the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Printing House of Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.
Office of Secretary-General of Education Council. (2010). A Research and Development of the Teachers and Educational Personnel Development Policy. Bangkok: Office of the National Education Commission.
Office of Secretary-General of Education Council. (2017). The National Scheme of Education B.E. 2560 – 2579. Bangkok: Prik Whan Graphic.
The Early Childhood Development Act B.E. 2562. (2019). Government Gazette. Volume 136 Part 56a. 5-16.
Phinyoanantaphong, S. (2015). Development of Teacher Training Program for Promoting Young Children’s Social and Emotional Development. Journal of Education, 16(1), 78.
Romchat, C. (2005). The Scenario of Characteristics of Teacher Professional Curriculum in the Next Decade (B.E. 2550 – 2559). (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.
Sittiraj, T. et al. (2015). The Scenarios of Administration of Secondary Education in Thailand in the Next Two Decades. Journal of Education Naresuan University, 17(3), 71-81.
Siridhrungsri, P. (2014). Improving the Quality of Thai Teachers in the 21st Century. Bangkok: Imprint.
Thammatakul, S., & Koongaew, A. (2012). A Study of Characteristics of the New Generation Teachers. Phetchabun: Phetchabun Rajabhat University.
Yamnoon,S. (2011). New. Generation teachers preparation in 2011. Journal of higher education, 3(1392), 7.