แนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาการบริหารงานพัสดุโดยการจัดซื้อจัดจ้างด้วย ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

คุณากร กรสิงห์
อรทัย อินต๊ะไชยวงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) หาแนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาการบริหารงานพัสดุโดยการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 คน และการประชุมกลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาข้อกฎหมาย ได้แก่ (1) ปัญหาการให้คำนิยามเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง (2) ปัญหาหลักเกณฑ์การจัดทำขอบเขตงานในการจ้างงาน (3) ปัญหาหลักเกณฑ์วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง (4) ปัญหาหลักเกณฑ์การตรวจสอบและคัดเลือกเบื้องต้นเพื่อหาผู้มีสิทธิเสนอราคา (5) ปัญหาหลักเกณฑ์การกำหนดช่วงเวลาในการจัดซื้อจัดจ้าง 6) ปัญหาหลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณา (7) ปัญหาหลักเกณฑ์การประกาศผลการซื้อหรือการจ้าง (8) ปัญหาหลักเกณฑ์การบริหารสัญญา และ 2) แนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาการบริหารงานพัสดุโดยการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (1) การปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพบริบทของแต่ละองค์กร (2) การสร้างแนวการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ให้ชัดเจน (3) การส่งเสริมให้มีการทำคู่มือการปฏิบัติงานในระดับองค์กรและระดับบุคคล (4) การสร้างเครือข่ายที่ปรึกษาทางกฎหมายในหน่วยงานและ หน่วยงานอื่น (5) การจัดการฝึกอบรมเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมาย และ (6) การจัดทำข้อวินิจฉัยในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างประเด็นต่างๆ สำหรับเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Local Administration. (2019). Question of Finance. Retrieved January 23, 2019, from http://www.dla.go.th/servlet/FaqServlet?time.

Jaimung, M. (2001). Buying and Hiring Rules in Accordance with the Tumbol Administrative Organization. (Master’s Thesis). Graduate School: Ramkhamhaeng University. Bangkok.

Lhowsuwannarat, T. (2005). Electronic procurement in the government. (Master’s Thesis). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Milutinovic, V., & Patricelli, F. ( 2002) . Emerging communication: Studies in new technologies and practices in communication. Amsterdam: IOS Press.

Office of the Public Development Commission. (2020). Modern procurement guidelines. Retrieved May 15, 2020, from https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-12-01-628-419.pdf.

Promsin, B. (2011). Procurement's problems and obstacles: A case study of Phrasamutchedi subdistrict Municipality, Pharasamutchedi district, Samutprakarn. (Master’s Thesis). Graduate School: Burapha University. Chonburi.

The Comptroller General’s Department. (2019). Electronic government procurement system. Retrieved May 25, 2019, from http://nongkhaolocal.go.th/new/news/2554/km/local/local5.pdf.

The Royal Irrigation Department. (2019). Procurement RID e-Learning. Retrieved January 24, 2019, from http://supply.rid.go.th/e-learning/index.php/2018-07-08-09-40-06

Yodmoon, S. (2008). The study of the efficiency of electronic auction system ( e-Auction) in procurement of government agencies. (Master’s Thesis). Graduate School: Thammasat University. Pathumtani.