แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Public service) ให้แก่ประชาชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

วรรณมาฆะ เกษรดอกไม้
ณัฐชัย นิ่มนวล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แก่ประชาชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ประชาชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 150 คน และประชุมกลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดบริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้แก่ประชาชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ มีด้วยกัน 4 ด้าน คือ (1) ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวก (2) ปัญหาเกี่ยวกับองค์ความรู้ (3) ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ถึงประโยชน์การใช้งาน (4) ปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นและความปลอดภัย 2) แนวทางการพัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ (1) พัฒนาจุดบริการแบบเบ็ดเสร็จและเข้าถึงง่าย (2) สร้างแอปพลิเคชันที่เจาะจงเฉพาะด้าน (3) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการสาธารณะอิเล็กทรอนิกส์ (4) จัดทำคู่มือการใช้งานระบบในรูปแบบออนไลน์ (5) กำหนดให้งานบริการสาธารณะทุกประเภทใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (6) พัฒนาปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง (7) กำหนดกลุ่มเป้าหมายกับเครื่องมือการวัดผลให้ตรงกัน (8) ทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานในการใช้ข้อมูลร่วมกัน 9) เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม (10) สร้างระบบการให้บริการรายบุคคล (11) ให้ประชาชนเข้ามาเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ (12) จัดกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมความเชื่อมั่นและปรับทัศนคติในการยอมรับเทคโนโลยีดิจิทัล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaikhambung, J. (2012). Success Factor of E-Governments. Journal of Information Science, 30(1), 41-55.

Chongchorhor, C. (2012). The Success Factors of the Citizen’s E-Participation Services. Journal of Information Science, 30(1), 65-78.

Department of Local Administration. (2017). Annual Report on Local Performance Assessment. Retrieved February 10, 2019, from http://www.dla.go.th/upload/ebook/column/2017/10/2212_5973.pdf.

Kuraeiad, A., & Thammachot, R. (2019). The Application of E-Government in Public Service Delivery. Burapha Journal of Political Economy, 11(1), 191-208.

Macintosh, A. (2004). Characterizing E-Participation in Policy-Making. Hawaii International Conference on System Sciences, 37(1), 1-10.

Mongkolsubkul, W. et al. (2016). Factors Affecting Adoption of E-Government Service: A Case Study of E-Revenue. KMUTT Research and Development Journal, 39(1), 3-9.

Reddick, C. G. (2012). Channel Choice and The Digital Divide in E-Government: The Case of Egypt. Journal Information Technology for Development, 18(1), 226-246.

Sangsuriyong, R. (2004). E-Service a Model for Service Delivery in The Thai Public Center. Bangkok: Chulalongkorn University.

Tomaszewicz, A. A. (2018). Usability and Functionality of Websites of Commune Offices as Stimulants of Sustainable Development of E-Government. European Journal of Service Management, 27(2), 483-488.

Waisanthia, P. (2016). e-Service Quality on User Satisfaction: Case Study of The Local Agency had Filed a Registration Statement of the Withholding Tax from Webpage. (Master’s Thesis). Raja Mangala University of Technology Isan. Nakhon Ratchasima.