วาทกรรมพุทธศาสนาแบบไสยศาสตร์ในสังคมไทย ตามทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจากวาทกรรมพุทธศาสนาแบบไสยศาสตร์ในสังคมไทยจากทัศนะของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมของฟูโกต์ (Foucault) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมพุทธศาสนาแบบไสยศาสตร์ในสังคมไทยเกิดขึ้นท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมวัตถุนิยมของโลกในยุคปัจจุบัน ส่งผลให้การทำบุญมีเจตนาเพื่อต้องการผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนมากกว่าคำนึงถึงบุญกุศลเหมือนสังคมไทยในอดีต พุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันถูกครอบงำจากกระแสพุทธพาณิชย์ไม่เว้นแม้แต่วัดและพระสงฆ์ ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยลุ่มหลงงมงายในไสยศาสตร์ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการได้มากกว่าพุทธศาสนาแบบคัมภีร์ อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ปัญหาของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และแนวทางอื่นสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างน่าสนใจ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Aeusrivongse. N. (2001). Buddhism in the change of Thai society. Bangkok: Komol Keemthong Foundation.
Charoenwong. S. (2001). Decode development. Bangkok: Institute for Political Development.
Foucault, Michel. (1970). The Order of Things: An Archaeology of the Human Sciences. New York: Vintage Books.
________. (1972). The Archaeology of Knowledge. (trans. A.M. Sheridan). New York: Pantheon.
Phongsapit. A. (1987). Culture, religion and ethnicity: analysis of Thai society in anthropology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Phra Brahmagunabhorn. (P.A. Payutto). (1992). Buddhism as the foundation of science. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
________. (1995). Buddhism situation retort black magic trend. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
Phra Dhammapitaka. (P.A. Payutto). (1993). The secred supernaturality and miracle. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
________. (1997). If wanting to escape the crisis, must stop using black magic. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
________. (1998). Dhamma and Thailand in current situation. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
________. (1999). The Dhammakaya case (preliminary excerpts version). Bangkok: Buddhadhamma Foundation.
Phra Pisarn Visaro. (2003). Thai Buddhism in the Future: Trends and Solutions from Crisis. Bangkok: Rakdham Foundation.
Taweesak, S. (2010). Buddhism outside the Tripitaka. Retrieved January 11, 2020, from https://prachatai.com/journal/2010/01/27495l.