กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

วิเชียนศักดิ์ ทิพสิงห์
วัลนิกา ฉลากบาง
พรเทพ เสถียรนพเก้า
เอกลักษณ์ เพียสา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) พัฒนากลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียน ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาฯ และ 3) พัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาฯ ใช้วิธีวิจัยแบบผสม การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากลยุทธ์ แบ่งเป็น 2 ขั้น ขั้นที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดของการวิจัย และศึกษาพหุกรณีโรงเรียนต้นแบบการป้องกันการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา ขั้นที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความเหมาะสมของกลยุทธ์ โดยใช้แบบสอบถามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 540 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน ระยะที่ 3 การพัฒนาคู่มือการใช้กลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาฯ มี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบของครู กลยุทธ์ที่ 2 การจัดการความรู้แก่นักเรียน กลยุทธ์ที่ 3 การป้องกันแบบมีส่วนร่วม และกลยุทธ์ที่ 4 การกำหนดและใช้บทลงโทษอย่างแข็งขัน 2) ความเหมาะสมของกลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) คู่มือการใช้กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษาฯ มีความถูกต้องด้านเนื้อหาและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ทิพสิงห์ ว., ฉลากบาง ว., เสถียรนพเก้า พ., & เพียสา เ. (2021). กลยุทธ์การป้องกันการคุกคามทางเพศของนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1724–1737. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243119
บท
บทความวิจัย

References

Atiwes, S. (2014). Sexual Harassment on Social Networks. Veridian E-Journal, 7(3), 901-916.

Bunchasak, S. (2009). Application of participatory learning programs to enhance the intention of having appropriate sexual behavior. In grade 3 students in Nongkhai municipality Nongkhai province. (Master’s Thesis). Maha Sarakham University. Maha Sarakham.

Emprasert, K. (2009). Development of a learning management guide by using project at the elementary level. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Jongwutiwet, K., & Nilphan, M. (2009). Research Report on Education and Preparation of Volunteer Manual for Maintaining Art and Cultural Heritage. (Bangkok Branch). Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Kongsanoh, S. (2018). School children and sexual abuse. Journal of Hot Issue, 4(12), 1-8.

Kunu, D. (2012). Disciplinary Measures Regarding Sexual Harassment of Teachers. And educational personnel. (Master’s Thesis). Eastern Asia University. Pathum Thani.

Nuansaeng, J. et al. (2016). Criminal liability and the treatment of victims of sexual harassment Case study of Thailand Federal state of germany And Commonwealth of Australia. Journal of Politics Administration and Law, 8(2), 325-368.

Panyayong, B. et al. (2007). Sexual abuse in children: 16 cases reported. Journal of Mental Health of Thailand, (7)3, 138-163.

Potachai, A. (2009). Teachers' Opinion on the Role of Prevention and Solution of Sexual Abuse on Primary School Students in Phan District, Chiang Rai province. (Master’s Thesis). Chiang Rai Rajabhat University. Chiang Rai.

Rodprasert, P. (2000). Policy and planning: Principles and theory. Bangkok: Netikul Printing.

RojRattanachai, P. (2010). Legal problems related to sexual harassment in government agencies. (Master’s Thesis). Dhurakij Pundit University. Bangkok.

Sanratana, W. (2010). Research in educational administration: concepts and case studies. Khon Kaen: Klang Nana Witthaya.

Ungkanuengdecha, C. (2013). Interpretation of sexual harassment behavior among workers with in Thai organizations. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.