รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

Main Article Content

วลินดา รสชา
ฉลอง ชาตรูประชีวิน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็น ความต้องการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการฯ รวมทั้งเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพฯ ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความคิดเห็น ความต้องการและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ และครูสถานศึกษาหลักและสถานศึกษามาควบรวม จำนวน 552 คน ขั้นตอนที่ 2 ยกร่างและตรวจสอบรูปแบบ และขั้นตอนที่ 3 ประเมินการนำรูปแบบไปใช้กับผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 128 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารสถานศึกษาควบรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 1 ปัจจัยความสำเร็จ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของการบริหารสถานศึกษาควบรวม องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการบริหารสถานศึกษาควบรวม องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารสถานศึกษาควบรวม องค์ประกอบที่ 4 ผลลัพธ์การบริหารสถานศึกษาควบรวม โดยมีปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) นโยบายการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กต้องมีความต่อเนื่องลงสู่การปฏิบัติจริง 2) มีการกระจายอำนาจในการบริหารเพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล งานบริหารทั่วไป และงานบริหารวิชาการ 3) การยอมรับและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย ชุมชน ผู้ปกครองและนักเรียน 4) การมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Basic Education Commission, Office. (2011). Setting educational standards in accordance with the Ministerial Regulations on the system. Criteria and methods for educational quality assurance 2010. Bangkok: Cooperative Printing House of Thailand.

Bunsong, A. (2013). Strategies to Support Learners Quality Development for Small Schools of the Office of Primary Education Service Areas in the Lower Northern Region. (Doctoral Dissertation). Naresuan University. Phitsanulok.

Bunanan, Y. (2014). Development of participatory management system of small schools. (Master’s Thesis). Valaya Alongkorn Rajabhat University. Pathum Thani.

Duangsamran, K. (2009). Strategic Management Model for Small Schools. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Nakhon Pathom.

Jirapakpong, C. et al. (2013). The quality of organization administration of the university. Journal of Mahachulalongkorn University Phrae Campus. 4(2), 45-47.

Lopantung, T. (2016). The development of a small school administration system based on the concept of social enterprise. (Master’s Thesis). Chulalongkorn University. Bangkok.

Hattikhi, B. (2013). Model of Educational Quality Management to Excellence in Small Schools. Journal of Rampaini Research, 7(2), 12-21.

Karerhan, A. (2019). Strategy for small elementary school administration. Under the Office of the Basic Education Commission In the northeast According to the National Education Plan (2017 - 2036). Academic conferences and national research presentations 4th.

Pimsan, A. (2013). Administration of the combined learning styles of small schools under the office of Lampang Primary Educational Service Area 1. (Master’s Thesis). Lampang Rajabhat University. Lampang.

Tumuma, C. (2015). The development of academic knowledge management model of small schools. (Master’s Thesis). Mahasarakham University. Bangkok.