โมเดลการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน

Main Article Content

วีนัส ธรรมสาโรรัชต์
นัทนิชา หาสุนทรี
ทวี แจ่มจำรัส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลขององค์ประกอบของการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 3) เพื่อสร้างโมเดลการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 380 คน ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 17 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) การเมืองนำการทหาร ( = 4.23) และสภาพสังคมสันติสุข ( = 4.21) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนวิธีการสันติวิธี ( = 4.18) เศรษฐกิจพอเพียง ( = 4.16) และวิธีการยุติธรรม ( = 4.11) ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อสภาพสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน คือ เศรษฐกิจพอเพียง (ค่าอิทธิพล = 0.69) รองลงมาคือ วิธีการสันติวิธี (ค่าอิทธิพล = 0.43) การเมืองนำการทหาร (ค่าอิทธิพล = 0.17) และวิธีการยุติธรรม (ค่าอิทธิพล = 0.10) ตามลำดับ และ 3) โมเดลการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืนมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมอสมมาตร ประกอบด้วย วงกลมใหญ่แทนเศรษฐกิจพอเพียง วงรีแทนวิธี การสันติวิธี สี่เหลี่ยมแทนการเมืองนำการทหาร และวงกลมเล็กแทนวิธีการยุติธรรม ซึ่งทั้งหมดสัมพันธ์กันกับสามเหลี่ยมใหญ่และเล็กที่อสมมาตรกัน

Article Details

How to Cite
ธรรมสาโรรัชต์ ว., หาสุนทรี น., & แจ่มจำรัส ท. (2021). โมเดลการพัฒนาสังคมสันติสุขของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1695–1706. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/243108
บท
บทความวิจัย

References

Academic Office, The Secretariat of the House of Representatives. (2015). Process for peace in the southern border provinces: a comparative study of Mindanao Republic of the Philippines, Electronic academic documents.

Chamarik, S. (2000). Thai political and development Constitution: Thai Khadi Research Institue Bangkok. Thammasat University and The Foundation for Promotion of Social ciences and Humanities Textbook Project.

Jitpiromsri, S. (2017). The Scope of Quality of Life of the People Affected by the Unrest in the Three Southern Borden Provinces: A Case Study of Raman District, Yala Province. Al-Nur Journal of Graduate School of Fatoni University, 12(23), 95-105.

Lindeman, R.H., Merenda, P.F., & Gold, R.Z. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Scott Foresman: Glenview. IL.

Peaceful and Governance Institute. (2009). Thai definition for resolution of Conflict. Bangkok: King Prajadhipok‘s Institue.

Phramaha Hansa Dhamahaso. (2011). Truth, Absolution and Amnesty. Journal of Graduate studies Review Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 8(2), 175-187.

Wasi, P. (1999). Sufficiency Economy and Civil society approach, Recuperate the social economy. Bangkok: Folk doctor Foundation.

Wasi, P. (2003). Lifestyle in 21st Century to the New world of Development. Health doctor Magazine, 12(4), 7-21.

Thamasarorat, U., & Gen, L.T. (2013). “Former Army Area Commander in Region 4” Interview. December, 23.

Weiss, R. (1974). The Provision of Social Relationship. Englewood Cliff, N.J: Prentice-Hall.

Zehr. (1995). Changing Lenses: A New Focus of Crime and Justice. U.S.A.: Herald Press.