ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ

Main Article Content

เกษม มานะสาคร
ณรงค์ กุลนิเทศ
พรกุล สุขสด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้ของชุมชน ความเชื่อมั่นของชุมชน บทบาทผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการยอมรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ 2) ปัจจัยการรับรู้ของชุมชน ความเชื่อมั่นของชุมชน บทบาทผู้นำชุมชน และการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ส่งผลต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ และ 3) แนวทางในการสร้างรูปแบบการยอมรับโรงไฟฟ้า การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ชุมชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลบางกรวย จำนวน 300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลบางกรวย ขนาดกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย นายอำเภอบางกรวย นายกเทศบาลบางกรวย และผู้นำชุมชน จำนวน 13 คน รวม 15 คน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้ของชุมชน ความเชื่อมั่นของชุมชน บทบาทผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน และการยอมรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนืออยู่ในระดับมาก 2) บทบาทผู้นำชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน ความเชื่อมั่นของชุมชน การรับรู้ของชุมชน มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการยอมรับโรงไฟฟ้าพระนครเหนือตามลำดับและ 3) ได้รูปแบบการยอมรับโรงไฟฟ้า ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในการนำรูปแบบการยอมรับโรงไฟฟ้าที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างโรงไฟฟ้า โดยผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับบทบาทผู้นำชุมชน ทั้งด้านบารมี และความน่าเชื่อถือของผู้นำ รวมทั้งทัศนคติของชุมชน การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารที่เป็นมิตรต่อชุมชนจะทำให้เกิดการยอมรับในการสร้างโรงไฟฟ้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Angsuchote, S. et al. (2011). Analytical Statistics for Research in Social Sciences and Behavioral Sciences: Techniques for using LISREL Program. (3rd ed). Bangkok: CDMK Printing.

Chankaew, K. (2002). Integrated Environmental Management. Bangkok: Kasetsart University.

Chearapan, C. (2013). Antecedents of Khanom Power Plant Community Acceptance. (Doctoral Dissertation). Pathum Thani University. Pathum Thani.

Hansombun, C., & Kanchanapokin, K. (2020). Human resource development that affects the working efficiency of the personnel on Expressway Authority of Thailand. Journal of Arts Management, 4(1), 46-58.

Kitirath, P., & Karnjanapokin, K. (2020). Quality of Work Life Management among Food Factory Employees in Bang Bua Thong District. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 29-38.

Limsuthiwanpoom, T., & Sinchai, T. (2020). Procurement Corruption in Government Agencies. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(2), 311-323.

Ministry of Energy. (2015). Annual report 2015. Retrieved January 3, 2020, from https://energy.go.th/2015/wp-content/uploads/2016/02/energy-annual-report2558.pdf.

National Reform Council. (2015). Solutions to Power Capacity Problems. Bangkok: Office of the Committee 1, Group of Committee on Energy.

Pimmarat, J. (2011). Public Participation in the Power Plan Project: case study: North Bangkok Combined Cycle Power Plant Project Block 1. Bangkok: College of Justice Press.

Pumarin, C. (2017). Approaches to Increase Efficiency on Crisis Management for Power System Reliability of Provincial Electricity Authority. Bangkok: Royal Thai Army War College.

Sothanasathien, S. (2015). An Evaluation on the Relationship between the Dams/the Power Plants EGAT with the Surrounding Communities. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 9(2), 11-33.