กิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะเชิงพุทธบูรณาการสำหรับนักเรียนผู้สูงอายุชาวภูไท ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาสุขภาวะของนักเรียนผู้สูงอายุชาวภูไท ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมรูปแบบกิจกรรมสุขภาวะเชิงพุทธสำหรับนักเรียนผู้สูงอายุชาวภูไท ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพปัญหาสุขภาวะของนักเรียนผู้สูงอายุชาวภูไทตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี พบว่า มี 4 ด้าน คือ 1) สภาพปัญหาสุขภาวะด้านร่างกาย ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บ มีปัญหาทางด้านการขับถ่าย 2) สภาพปัญหาสุขภาวะด้านจิตใจ หงุดหงิด รำคาญ เหงา เศร้าซึม ว้าเหว่
3) สภาพปัญหาสุขภาวะด้านสังคม ขาดความมั่นใจในตัวเอง ขาดความอบอุ่นในครอบครัว กลัวการถูกทอดทิ้ง 4) สภาพปัญหาสุขภาวะด้านปัญญา หลงลืมง่าย ความจำเลอะเลือน ภาวะสับสน
2) การส่งเสริมรูปแบบกิจกรรมสุขภาวะเชิงพุทธสำหรับนักเรียนผู้สูงอายุชาวภูไท ตำบลบะยาว อำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี มี 4 ด้าน คือ 1) กิจกรรมสุขภาวะด้านร่างกาย มีกิจกรรมการเดินหรือวิ่งเบา ๆ ขี่จักรยาน แอโรบิค ออกกำลังกายตามท่ากายบริหาร 2) กิจกรรมสุขภาวะด้านจิตใจ มีการบริจาคผ้าขาวห่อศพ การเดินจงกรม นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ ไหว้พระ สวดมนต์ 3) กิจกรรมสุขภาวะด้านสังคมมีกิจกรรมการจัดการสวัสดิการของชุมชน 4) กิจกรรมสุขภาวะด้านปัญญา มีกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกสมองด้วยกิจกรรมคิดเลข
เป็นต้น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Gunlawong, M. (2016). Self-Sufficiency Model under Philosophy of ‘Sufficiency Economy’ of the Elderly in Phutoei Municipal Area, Wichianburi District, Phetchabun Province.
Phranakhon Rajabhat Research Journal (Humanities and Social Sciences), 11(1), 165-174.
Palank, C.L. (1991). Determinants of Health-Promotive Behavior. A Review of Current Research. The Nursing Clinics of North America, 26(4), 815-32.
Phra Aukrid Chotiyano. (2018). A Model of the Health Promotion of the Elderly for the Well - being based on Sufficiency Economy Principle of Sisaket Province. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phra Chawarit Ciravaddhano. (2018). A Process to Support the Five Precepts Observation for Quality of Life of People in Mae-Tum Sub- District, Payamengrai District, Chaingrai Province. Journal of Graduate Studies Review Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Phrae Campus, 4(1), 53-65.
Phrapalad Somchai Payogo et al. (2019). The Synthesis of Indicators of Active Aging Enhancement According of Buddhist Integration for the Retirement of Elderly. Journal of MCU Nakhondhat, 6(7), 3613-3625.
Prachuabmoh, V. (2010). Overview of The Elderly Population in Thailand in Reviewing and Synthesizing Knowledge of Thai Elderly People From 2002-2007. Bangkok: Thai Elderly Research and Development Institute Foundation.
Sundstrom, G., Malmberg, B. & Johansson, L. (2006). Balancing family and state care: Neither, either of both? The case of Sweden. Cambridge Journals, 26(5), 767-782.
The Office of the Commission of Decree. (2007). National Health Act B.E. 2550. Bangkok: The Office of the Commission of Decree.
World Health Organization. (2002). Active ageing: A Policy Framework. Geneva: World Health organization.