สุขภาวะพระสงฆ์: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนววิถีพุทธ โดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ
พระศักดิธัช สํวโร
เกรียงศักดิ์ ฟองคำ
กาญจนา ดำจุติ
คุณญา แก้วทันคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ 2) ศึกษากระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชน 3) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน โดยใช้รูปแบบวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 24 รูป และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 52 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ ได้แก่ ด้านโภชนาการ ร่างกาย จิตใจ ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ การจัดสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยภายในวัด และการมีส่วนร่วมและสนับสนุนของภาคีในการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ 2) กระบวนการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธในการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ การใช้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน ใช้ยาแผนปัจจุบัน และการใช้ระบบสาธารณสุขในการเสริมสร้างสุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชน ได้แก่ หลักการ 4 และ วิธีการ 6 3) การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้าง
สุขภาวะของพระสงฆ์ตามแนววิถีพุทธโดยการบูรณาการสาธารณสุขชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในภาคเหนือ


ตอนบน มี 4 รูปแบบคือ (1) รูปแบบการใช้หลักธรรมภาวนา 4 (2) รูปแบบการใช้หลักไตรสิกขา 3 (3) รูปแบบการใช้หลักการ 4 และ หลัก 6 อ. และ (4) รูปแบบการใช้ใช้กระบวนการบริหารจัดการสุขภาพของพระสงฆ์แบบมีส่วนร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายมาพัฒนาทั้งภาครัฐมาบูรณาการร่วมกันจึงส่งผลให้พระสงฆ์มีสุขภาพดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Buathed, D. (2010). Buddhist Monks’ Health: A Model of Holistic Health Care by Community Participation in Upper Central Thailand. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Houngmit, C., Thitinunthiwath, N., & Krumthab, A. (2017). The Model for Health Promotion Behavior Improvement of Buddhist Monk Network in Nakhon Sawan Municipality. Journal of Health Systems Research, 1(3-4), 505-515.

Jattuporn, C., Yomha, P., & Muangsiri, P. (2007). Evaluation of a New Health-promotion Service in which Health Network Personnel in the Community Participated: A Case Study of the Wangchan Project, Rayong Province. Journal of Health Systems Research, 1(3-4), 385-393.

Jitmanasak, N. (2013). Health Promotion Behavior for Monks. Science and Technology Journal Phra Nakhon Rajabhat University 3, 3(3), 8.

Office of the National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (2017). 12 th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved May 18, 2019, from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

Phramaha Suthit Aphakaro. (2004). Natural Knowledge and Management Network. Bangkok: Monthly Publisher.

Post Today, (2018). Monks in the period 4.0, want to get a goof health. Retrieved May 18, 2019, from https://www.posttoday.com/life/healthy/552678

PraKru Suvithanpatthanabandit, Daengharn, T., & Vapuchavitee, S. (2015). Model development of monk’s holistic health care in Khon Kaen Province through the network participation. Journal of the Office of DPC 6 KHON KAEN, 22(2), 117-130.

Singmanee, C., Samerchua, W., & Satchasakulrat, S. (2017). Health Behaviors among Buddhist Monks in Phayao Province. Journal of MCU Nan Review, 1(1), 43-55.

Suphunnaku, P., & Srithong, W. (2015). Causal Relationship Model of Factors Influencing Glycemic Control Behavior among Monks with Type 2 Diabetes in the Upper Northern Region of Thailand. Journal of Behavioral Science, 21(1), 9.

Thanasawassanon, K. (2012). A Study of Participatory Health Promoting Village Forms. Retrieved May 18, 2019, from https://27.254.62.6/dspace/handle/11228/414

Thongthab, S. (2019) The monks were beset with 5 deseases. Retrieved May 18, 2019, from https://www.thebangkokinsight.com/147401/.