หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคง ในครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา

Main Article Content

วัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล
พระครูนิรมิตสังฆกิจ
พระครูสมุห์ณรงค์ โฆสิตธมฺโม
อานนท์ เมธีวรฉัตร
สุวรรณฐา ลึม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา 2) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา และ 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวพ่อแม่มือใหม่ในสังคมไทย สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) หลักธรรมและหลักการเสริมสร้างความมั่นคงของครอบครัวตามแนวพระพุทธศาสนา เป็นหลักธรรมที่นำความสำเร็จมาสู่ครอบครัว โดยการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน สามารถดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ 2) สมรรถภาพของมารดาบิดาในการทำหน้าที่พ่อแม่ที่ดี ความสามารถในการเลี้ยงบุตรธิดาได้ดี ความสามารถส่งบุตรธิดาให้เรียนดี ความสามารถสอนลูกให้เป็นคนดี ได้ทราบเสรีภาพสำหรับครอบครัว เช่น การสร้างเจตนคติที่ดีด้านครอบครัว การสร้างกิจกรรมในครอบครัว กิจกรรมพาลูกเข้าวัด การเตรียมความพร้อมเป็นพ่อแม่มือใหม่ และได้ทราบความเสมอภาคในมิติต่าง ๆ เช่น ความเสมอภาคทางเพศ ความเสมอภาคทางความคิด ความเสมอภาคในครอบครัว ความเสมอภาคในการตัดสินใจร่วมกัน 3) พุทธธรรมสามารถเสริมสร้างความมั่นคงในครอบครัว ตั้งแต่การเลือกคู่ครอง การแต่งงานเป็นสามีภรรยา การดูแลเอาใจใส่กัน การดำรงอยู่ในสถานะมารดาบิดา การอบรมเลี้ยงดูบุตรธิดา การเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลให้บุตรธิดา บูรณาการใช้หลักมงคล 38 สำหรับพ่อแม่มือใหม่ บูรณาการสู่ภาคปฏิบัติ ในขณะเดียวกันได้ทราบความสัมพันธ์ของบุตรธิดาต่อสังคมภายนอก มีความเข้าใจจริยธรรมทางสังคม ซึ่งคู่ครอง ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ เป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทำให้เกิดฐานะและหน้าที่อย่างใหม่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Horsaengchai, S. et al. (2020). The Perspective of Education as Philosophy Changing Acceptation as Buddhist Peaceful Means. Journal of Arts Management, 4(1), 180-192.

Intasara, W. (2004). Life with family. Bangkok: OS Printing House.

Khammani, T. (1992). Development Principles and Patterns of Young Children along the Thai Way of Life. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kulsiripanyo, J. et al. (2015). The Mobility Disabled Military Family’s Roles Cause of Security Crime in Three Southern Border Provinces. National Defence Studies Institute Journal, 6(4), 51-56.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitakas. Bangkok: MCU Press.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2007). Valuable life. (7th ed.). Bangkok: Pim Suay.

Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2020). Partner Ideal life. Retrieved February 13, 2020, from http://www.watnyanaves.net.

Phra Thammakittiwong (Thongdee Suratejo). Phra in the house. Bangkok: Rungreang Printing.

Poopat. (2020). A Model of Parenthood according to Buddhist Psychology. Journal of Arts Management, 4(2), 223-238.

Rungmuang, T. Prapawan, P., & Supabhato, P. (2020). The Role of Monks in Educational Management Accordance with the Neo-Humanism Philosophy: A Case Study of Wat Samrong School Nakhon Chai Si District Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(2), 195-208.

Sathira Dhammasathan. (2010). Be happy for you to see a good person for you to see. (4th ed.). Bangkok: Amarin Dharma.

Swasdipanish, K. (1976). Family Relations. Bangkok: Wattana Panit.

Thitipasitthikorn, P.P. Yusamran, P.P., & Sodprasert, S. (2020). Conscious Building the Good Citizenship in Community development and Urbanized Buddhist Community in Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 63-80.

Vanindananda, N. (1993). Bushiest Parents’ Characteristics as Correlates of Child-Rearing Practices: Behavioral Science Approach. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Yoelao, D. (1992). Synthesis of Research Results on Child Rearing Practices in Thailand using Meta-analysis Procedure. Summary of the Research Project Srinakharinwirot University Research. Bangkok: Srinakharinwirot University.