สี่แยกอินโดจีน: กระบวนการและกลไกการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคม กับการพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

พระครูรัตนสุตาภรณ์ โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการ และกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายทางสังคมในการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน 2) เพื่อศึกษากลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ สี่แยกอินโดจีน 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ การกำหนดยุทธศาสตร์ การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ และแนวโน้มการพัฒนาสี่แยกอินโดจีน และ 4) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเครือข่ายทางสังคม นโยบาย และผลกระทบของการพัฒนา และเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับกลไกภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์สี่แยกอินโดจีน ภาคประชาชน ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนภาคเอกชนในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 37 ราย เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อหลัก และการจัดสนทนากลุ่มเฉพาะ


          ผลที่ได้จากการศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาสี่แยกอินโดจีน เริ่มจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 เป็นพื้นที่ของการพัฒนาเป็นสี่แยก ที่เรียกว่า East-West และ North-South Corridor 2) กลไก กระบวนการภาครัฐในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ตามยุทธศาสตร์ คือ นโยบายของรัฐบาลเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทาง แนวทางการพัฒนา การแก้ไขปัญหา 3) ภาครัฐเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงพื้นที่สี่แยกอินโดจีน เป็นตัวกลางที่ต้องประสาน และเชื่อมต่อความสัมพันธ์ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยต้องอาศัยปัจจัยทั้งทางด้านทุนทางสังคม องค์กรชุมชน และเครือข่ายทางสังคม 4) การสร้างจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางแห่งการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า คือ ประชาชนชาวพิษณุโลกต้องได้รับประโยชน์มากที่สุด และต้องได้รับผลกระทบที่เป็นผลเสียจากโครงการให้น้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Asawathiratthanakun, K. (2012). Development of Management Mechanism and Driving Long-Term National Research Policy on Renewable Energy Participatory participation in southern provinces. Songkhla: Thaksin University.

Phra Mahasuthit Aphakaro (Opun). et al. (2013). The Development of Management System and the Establishment of Buddhism Network in Thailand. (Research Report). Office of Health Promotion Fund: Bangkok.

Phra Ratchaworamuni (Pol. Apakaro) et al. (2014). Driving the development of the Dharma their curriculum development. Research Report. Bangkok: Faculty of Buddhism. Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Pinprateep, P. (1997). Phitsanulok 2020, Vision and Development Strategy for Indochina Intersection. Phitsanulok: Study for Indochina Intersection Intersection Club.

Thiwaphan. S. (2018). National Salvage Strategy. Phitsanulok: The Trakul Thai Printing Limited Partnership, 3rd edition.

Peters, J. T., &. Waterman, Jr. H. R. (1982). Management, 5th ed. Development Strategy for the effective organization in the future. USA: John Wiley & Sons.