สองกระแสแห่งคําสอนว่าด้วยสติ:มหาสติปัฏฐานสูตรและการลดความเครียดด้วยสติ

Main Article Content

หิมพรรณ รักแต่งาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการสอนและคำสอนว่าด้วยสติตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตรและการลดความเครียดด้วยสติ และวิเคราะห์ความสอดคล้องและแตกต่างของทั้งสอง กระแส ด้วยการวิจัยเอกสารและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กระแสที่หนึ่งหรือคำสอนใน              มหาสติปัฏฐานสูตรอันเป็นแนวทางดั้งเดิมนั้น การเจริญสติเป็นไปเพื่อรู้แจ้งนิพพาน ด้วยหลักการคือ            สัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ผ่านฐานทั้งสี่คือกาย เวทนา จิต ธรรม ส่วนกระแสที่สอง นั้น เน้นการบรรเทาความทุกข์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความเครียด ความกดดัน ในการทำงานหรือใน     ความสัมพันธ์ หลักการจึงเป็นไปในแนวที่จะช่วยให้เกิดโยนิโสมนสิการ เช่น การยอมรับ ความอดทน ผ่าน     ชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีการพูดคุย ฝึกสติในรูปแบบและชีวิตประจำวัน เช่น การตามลมหายใจ ทั้งสองกระแสนี้ แม้ใช้คำว่า “สติ” เป็นองค์ธรรมหลัก แต่ให้ความสำคัญแก่องค์ธรรมอื่นๆ ด้วย ทว่า ความแตกต่างอย่างสำคัญคือเป้าหมายที่ต่างกัน อันส่งผลให้หลักการและแนวทางการปฏิบัติต่างกันไปด้วย เป้าหมายที่ต่างกันมีมูลเหตุ  มาจากการให้ความหมายแก่ “ทุกข์” ที่ต่างกัน กระแสที่สองเน้นถึงการบรรเทาทุกข์ในชีวิตประจำวัน สติจึง    เป็นเครื่องมือในการบำบัดวิธีหนึ่ง ในขณะที่ความทุกข์ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นลงลึกไปจนถึงเหตุเกิดเหตุดับ  ของทุกข์ เป็นปรากฏการณ์อย่างละเอียดที่เกิดขึ้นภายในจิต ซึ่งเมื่อดับความทุกข์ในระดับนี้ได้ ย่อมพ้นจาก    ทุกข์ทั้งปวง ความหมายของ “ทุกข์” ที่ต่างกันจึงส่งผลให้คำสอนว่าด้วยสติของทั้งสองกระแสแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Analayo. (2006). Satipatthana: The Direct Path of Realization. Selangor: Buddhist Wisdom Center.

Dhamma Giri Vipassana International Academy. (n.d.). Mahasatipatthana Sutta. Sutthee Chayodom, tr. Bangkok: Foundation for the Promotion of Vipassana Meditation under the Patronage of His Holiness the Supreme Patriarch of Thailand.

Harrington, A. & Dunne, J. (2015). When Mindfulness Is Therapy: Ethical Qualms, Historical Perspectives. American Psychologist, 70(7), 621-631.

Kabat-Zinn, J. (2011). Some Reflections on The Origins of MBSR, Skillful Means, and The Trouble with Maps. Contemporary Buddhism, 12(1), 281-306.

Kabat-Zinn, J. (2014). Background and Overview. In Santorelli, S., Ed. Mindfulness-Based Stress Reduction (MBSR): Standard of Practice. MA: Center for Mindfulness in Medicine, Health Care and Society. University of Massachusetts Medical School.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2002). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

MBSR Course Overview and MBSR Course Module. Retrieve April 2020. https://mbsrtraining.com/mbsr-syllabus-mindfulness-training/

Phra Brahmgunabhorn. (2002). Buddhadhamma. (20th ed.) Bangkok: MCU Press.

Phra Brahmgunabhorn. (2008). Dictionary of Buddhism. (11th ed.) n.p.

Thanissaro Bhikkhu. (2012). Right Mindfulness: Memory and Ardency on The Buddhist Path.CA: Metta Forest Monastery