การประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน 2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน และ 3. ประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและผู้แทนครู จำนวน 758 คน การวิจัยมี 2 ระยะ คือ 1) การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วม ใช้การสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน 2) การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำพลังร่วมของผู้บริหารโรงเรียน โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำพลังร่วม โดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็นขององค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วม
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำพลังร่วม มี 5 องค์ประกอบ คือ การมีวิสัยทัศน์ร่วม การเปลี่ยนแปลง การตัดสินใจร่วม การสร้างทีม และการเวียนกันเป็นผู้นำ 2) ระดับสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำพลังร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำพลังร่วม พบว่า ดัชนีความต้องการจำเป็นต้องได้รับพัฒนาภาวะผู้นำพลังร่วม เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการเวียนกันเป็นผู้นำ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ด้านการเปลี่ยนแปลง ด้านการตัดสินใจร่วม และด้านการสร้างทีม ตามลำดับ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Leksharoen, A. et al. (2016). Research Projects to Improve Social drive with Infant Mortality bring a New Paradigm to an Organisation that Performs Leadership Development Potential. Bangkok: Mahidol University.
Charoensiri, C. (2016). Social Innovations that make a Difference to Health. National Health Security Office Region 2 Phitsanulok Provincial. Retrieved May 8, 2018, from http://hpc2.anamai.moph.go.th/momchilddata/files/innovation-4.pdf
Khakhlong, C. (2014). The Development of Program to Enhance Servant Leadership of Basic Administrators. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahasarakham University. Mahasarakham.
Greenleaf, R. K. (2002). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power & greatness. Mahwah, NJ: Paulist Press.
Griffiths, & Daniel, E. (1956). Human Relationship in School Administrators. New York: Appleton Century – Crofts.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Chatchawaphun, P. (2016). Development of Program to Enhance Strategic Leadership of Secondary School Administrators. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahasarakham University. Mahasarakham.
Yodsala, S. (2013). Development of Visionary Leadership of Primary School Administrators under The Office of Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahasarakham University. Mahasarakham.
Pakika, W. (2017). Developing Creative Leadership Program for School Administrators (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahasarakham University. Mahasarakham.
W.K. Kellogg Foundation. (2007). The Collective Leadership Framework: A Workbook for Cultivating and Sustaining Community Change. Innovation Center for Community and Youth Development. Takoma Park: Mexico.