รูปแบบการจัดงานบุญผะเหวดในฐานะทุนทางสังคม – วัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พระครูวิบูลภัทโรภาส โอภาโส
พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ
พระโสภณพัฒนบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการศึกษาแนวทางการอนุรักษ์รูปแบบการจัดงานบุญผะเหวดในฐานะทุนทางสังคม - วัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 30 รูป/คน
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มแล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์แบบอุปนัย


ผลการวิจัย พบว่า ประวัติความเป็นมาและประเพณีบุญผะเหวดในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานีมีมาตั้งแต่สมัยโบราณปีใดไม่ปรากฏจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ และชาวบ้านได้คิดค้นหาลักษณะเด่นทางวัฒนธรรมท้องถิ่นของอำเภอกู่แก้ว เพื่อจะนำไปเป็นศูนย์กลางในการจัดงานบุญประเพณีท้องถิ่นที่ยิ่งใหญ่ “บุญผะเหวด” เป็นประเพณีหนึ่งในบุญตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน แนวทางการอนุรักษ์รูปแบบการจัดงานบุญผะเหวดในฐานะทุนทางสังคม - วัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการในอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี พบว่ามี 10 ด้าน คือ1) ส่งเสริมการอนุรักษ์ประเพณีการจัดงานไว้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น 2) สร้างความสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างครอบครัวและชุมชน 3) ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในระดับชุมชนกับสังคม 4) การอนุรักษ์ด้านความเชื่อทางศาสนา 5) สร้างแนวทางในการอนุรักษ์จากประสบการณ์จริง 6) สร้างรูปแบบในองค์ความรู้ภูมิปัญญาสู่สาธารณชน 7) ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของบรรพบุรุษไว้ 8) ส่งเสริมศูนย์การอนุรักษ์ด้านการนำวัฒนธรรมเชิงพุทธบูรณาการ 9) ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความเป็นทุนทางสังคม 10) สร้างกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรมจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Khampiranon, U. (2008). A Study of Buddhist Teachings asappeared in the Phramalaikam luang Literature. Thesis Master of Art. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Davaj Khemadhajo. (1994) . A Critical Study of Influence of Mahachati Reaching in Thai Society. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Somchat Nandadhammiko. (2006) . A Study of Value of the Mahajati Preaching In Lanna. Thesis Master of Arts. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Samakkarn, S. (1996). Faith and Religion in Thai society: Social-Humanist Analysis. Bangkok: Odienstor.

Samutkub, S. (2000). Cultural Politics in Boonphawed in Roi Et. Nakhon Ratchasima: Bureau of Social Technology. University Suranaree Technology.