รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย

Main Article Content

เยี่ยมลักษณ์ เอี่ยมศิริ
สมศักดิ์ สีดากุลฤทธิ์
ภิญญาพันธ์ เพียซ้าย
ศักดินาภรณ์ นันที

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน และ 3) เพื่อทดลองใช้ชุดการเรียนรู้สำหรับการพัฒนาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยรูปแบบวิจัยและพัฒนา โดยกลุ่มเป้าหมายสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครู และผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 คน ส่วนกลุ่มเป้าหมายสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย จำนวน 192 คนและคัดเลือกมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการทดลอง จำนวน 60 คน โดยสุ่มเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1. จิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษก่อนดำเนินการพัฒนา 3 ด้านมีผลดังนี้ 1) ความผูกพันในบทบาทนักเรียนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ จำนวน 33 คน ระดับกลาง จำนวน 29 คน และระดับสูง จำนวน 34 คน 2) อัตลักษณ์นักเรียนวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับต่ำ จำนวน 28 คน ระดับกลาง จำนวน 36คน และระดับสูง จำนวน 32 คน 3) พฤติกรรมการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับต่ำ จำนวน 79 คน ระดับกลาง จำนวน 17 คน 2. รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การร่วมวางแผนออกแบบกิจกรรม 2) การร่วมพัฒนาชุดการเรียนรู้ 3) การร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4) การร่วมประเมินผลการเรียนรู้ 3. ผลการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้สำหรับพัฒนาจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์พบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลอง มีคะแนนจิตลักษณะทางวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมและรายด้านภายหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunkliab, N. (1997). Standard Science Education. Bangkok: The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

Davis, K. (1972). Human Behavior at Work: Human Relation and Organization. Behavior. (4th ed.). New York: McGraw-Hill Co.

Kaewdaeng, R. (2001). Quality Assurance Is Not Difficult. Bangkok: Watana Panich Printing.

Lee, J. D. (2002). More Than Ability: Gender and Personal Relationships Influence Science and Technology Involvement. Sociology of Education, 75(4), 349-373.

Lee, S. M., & Peterson, S. J. (2000). Culture, Entrepreneurial Orientation and Global Competitiveness. Journal of World Business, 35, 401-416.

Roamchat, P. (2010). Antecedents of Role Commitment, Role Identity, Learning Motivation, and Role Ambiguity Concerning Role Performance of Gifted Students in Science and Mathematics. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Stryker, S. (1980). Symbolic Interactionism: A Social Structure Version. California: Menlo Park.

White, Alastair T. (1982). Why Community Participation, Annual UN. Report A Discussion of the Agreement Community Participation: Current Issue and Lesson Learned. Boston: Prentice Hall.