การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม มุ่งศึกษาและพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชน ดังนี้ 1) การศึกษาความต้องการและศักยภาพของชุมชน 2) การค้นหาอัตลักษณ์ของชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยว 3) การถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติ และ 4) การปฏิบัติการท่องเที่ยวโดยชุมชนจริง จากการศึกษาพบว่า บ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ชุมชนมีความพร้อม ความต้องการ และมีศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยว การกำหนดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม และผลจากการสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัวอยู่ในระดับมาก ( = 4.29 ; S.D. = 0.63) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ( = 4.38 ; S.D. = 0.65) รองลงมาได้แก่ ด้านองค์กรชุนชน ( = 4.32 ; S.D. = 0.71) ด้านการจัดการ ( = 4.26 ; S.D. = 0.67) และด้านการเรียนรู้ ( = 4.20 ; S.D. = 0.75) ตามลำดับ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Department of Local Administration Ministry of Interior. (2018). Tourism Promotion
Standard. Bangkok: Department of Local Administration Ministry of the Interior.
Photkaew, T. (2017). Participation in Tourism Management at Ban Bang Rong
Community, Pa Khlok Subdistrict, Klang District, Phuket Province. (Master’s
Thesis). Phuket Rajabhat University. Phuket.
Pongsakornrungsilp, P. (2014). Sustainable community tourism management,
Ban Khok Krai Phang Nga province. (Master’s Thesis). Faculty of Tourism and Hospitality: Chiang Mai University. Chiang Mai.
Poonak, W. (2014). Community Potential in Tourism Management by
Community: A Case Study of Amphawa Floating Market. Academic Service
Journal Songkhla University. 26(1), 63-74.
Tancharoen, S. (2015). Loy Krathong tradition and inheritance of local wisdom and
conservation. Bangkok: South East Asia University.
Tancharoen, S. (2017). Community Tourism Management for Sustainable Tourism
Development. National Conference on Management Faculty of Management
Science Bansomdejchaopraya Rajabhat University. 1.
Tourist Bureau by community. (2018). Sustainable community tourism development
process. Bangkok: Bureau Travel by community.
Tourism Locallife, (2018). House head Khua. Retrieved December 10, 2019,
from https://www.tourismlocallife.com/1767.
Srilachai. A. (2016). Guidelines for Sustainable Tourism Management by Ban
Khok Mueang Subdistrict, Chorakhe District Subdistrict Prakhon Chai District
Buriram province. (Master’s Thesis). Graduate school: Buriram Rajabhat University, Buriram.
Suan Sri, P. (2011). Community Tourism Management Guide. Bangkok: Tourism for
Life and Quality Project.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and
Row.