บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย

Main Article Content

นพวรรณ กาญจนปรัชญากุล
ศิรวิทย์ กุลโรจนภัทร
วรเดช จันทรศร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจัยด้านนโยบายสาธารณะ การค้าชายแดนไทย-ลาว การบริหารจัดการ ต้นทุนสินค้า การมีส่วนร่วม และความสำเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย 2) อิทธิพลของปัจจัยด้านนโยบายสาธารณะ การค้าชายแดนไทย-ลาว การบริหารจัดการ ต้นทุนสินค้า และการมีส่วนร่วม ที่มีต่อความสำเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย และ 3) รูปแบบหรือแนวทางในการดำเนินงานการค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ประสบความสำเร็จ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ค้าในเขตการค้าชายแดนไทย-ลาว บริเวณด่านพรมแดนหนองคาย ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยวิธีของ Taro Yamane (1973) จำนวน 300 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ สำหรับกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ บุคคลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อเรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจัยด้านนโยบายสาธารณะ การค้าชายแดนไทย-ลาว การบริหารจัดการ ต้นทุนสินค้า การมีส่วนร่วม และความสำเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย อยู่ในระดับดีมาก 2) อิทธิพลของ ปัจจัยการมีส่วนร่วม เพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลต่อความสำเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ไม่ได้ส่งผล ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกันกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และ 3) แนวทางในการดำเนินงานการค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายให้ประสบความสำเร็จ จะต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจนและทั่วถึง มีการประสานงานระหว่างรัฐและเอกชน และประชาชนสามารถสอบถามหรือร้องเรียนปัญหากับรัฐได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, J.E. (1979). J.D. Public Policy-Marking. New York: Holt, Winston & Rinehart.

Banomyong, R. (2011). The role of logistics in the establishment of the ASEAN Economic Community. Retrieved December 28, 2018, from http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/60.pdf

Bureau of ASEAN Affairs, Department of Trade Negotiations. (2016). Thai border trade - Laos PDR: Development of Thai border trade potential to Laos PDR and third countries. Retrieved December 28, 2018, from https://www.ryt9.com/s/beco/2641170

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity Through specificity. New York: World Developments.

Drucker, F. P. (1980). Administration. (7th ed). Bangkok: Thai Wattana Panit.

Puang-ngam, K. (2002). Community Strengthening Enhance. (n.p., n.d.).

Termpitayapaisit, A. (2014). Document for the Seminar on Border Economy City Development: A Case Study management of Chong Sa Ngam new town, Phu Sing District, Si Sa Ket Province.