การพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

สาริศา พิชัยฤกษ์
พิสิฐ เมธาภัทร
ไพโรจน์ สถิรยากร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อการพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่ง รองผู้อำนวยการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 2) เพื่อประเมินระบบ การนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งรอผู้อำนวยการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนาดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในขั้นตอนการพัพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มประชากร ได้แก่ รองผู้อำนวยการบรรจุใหม่ 216 คน ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่รองผู้อำนวยการใหม่ปฏิบัติงานอยู่ 149 คน และหัวหน้างานภายใต้รองผู้อำนวยการบรรจุใหม่ 311 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ส่วนในขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมของระบบการนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน และแบบประเมินคู่มือสมรรถนะการปฏิบัติงานของรองผู้อำนวยการบรรจุใหม่ โดยผู้นิเทศที่กำหนดเป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง ผลการพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติงาน สำหรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการเตรียมความพร้อมก่อน การนิเทศ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1.1) การพัฒนาระบบการนิเทศการปฏิบัติงานของรองผู้อำนวยการ 1.2) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมผู้นิเทศ 1.3) การคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตร 2) ขั้นการปฏิบัติการนิเทศมีองค์ประกอบ ดังนี้ 2.1) การจัดทำแผนการปฏิบัติการนิเทศ 2.2) การปฏิบัติการนิเทศ และ 3) ขั้นการติดตามผลหลังการนิเทศ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 3.1) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3.2) การรายงานผลการปฏิบัติงานโดยระบบสารสนเทศ ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบฯ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินการนำระบบไปทดลองใช้ ได้ผลสมรรถนะการปฏิบัติงานเฉลี่ยของรองผู้อำนวยการบรรจุใหม่อยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Keeves, J. P. (1988). Educational Research Methodology, and Measurement: An international Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Methapat, P. (2006). Teaching on Vocational Education Curriculum Development and Educational Supervision. Bangkok: KMUTNB.

Office of The Vocational Education Commission. (2009). The Regulation of the Office of the Vocational Education Commission on 6 College’s Administration and Management. Bangkok: OVEC.

Sakuna, P. (2018). The Program Development for Preparing Personnel to the College’S Director Under the Office of the Vocational Education Commission. Journal of Industrial Education of King’s Mongkut University of Technology, 9(3), 9-18.

Srikumun, R. (2019). SEAT Structure Ratchawin School Under the Office of the Primary Education Service Area Bangkok. Journal of Arts Management, 3(3), 153-162.

Vongsakda, S. (2010). The Development Model to Promote the Success of Educational Administrators of Colleges under the Supervision of the Office of Vocational Education Commission. Bangkok: KMUTNB.