รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการPLC 2) ทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการPLCและ3) ยืนยันรูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการPLCกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 5สถานศึกษาจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนเทศบาล1 โรงเรียนเทศบาล2 และโรงเรียนเทศบาล3 การดำเนินงานแบ่งเป็น 2 กิจกรรมที่1 คือ 1)ประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับคณะครุศาสตร์2) เสนอโครงการขอสนับสนุนจากคุรุสภา กิจกรรมที่ 2 คือ1) จัดอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการ2) นิเทศติดตามงานจำนวน 3 วงรอบ โดยคุรุสภา อาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง3) ยืนยันรูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการPLCสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLCที่พัฒนาขึ้นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.49, S.D.=0.48) องค์ประกอบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย แผนการขับเคลื่อนPLC กระบวนการขับเคลื่อนPLC การนิเทศติดตามประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงาน 2) การทดลองใช้รูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.57, S.D.=0.28) ด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการพัฒนาต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่จนเกิดนวัตกรรมได้ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( = 4.76, S.D.=0.15) และด้านที่น้อยที่สุดคือ ด้านความเข้าใจตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศได้ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( = 4.19, S.D.=0.28) 3) ผลการยืนยันรูปแบบการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC โดยอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน พบว่าเป็นพหุองค์ประกอบ มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และมีความถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 100
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Annenberg Institute for School Reform. (2013). Professional learning communities: professional development strategies that improve instruction. Retrieved January 16, 2019, from http//www.Annenberginstitute.org/pdf/proflearning.pdf.
Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Chookamnerd, W. Sungtong, E., & Kerdtip, C. (2014). A Model of a Professional Learning Community of Teachers Toward 21st Century Learning of Schools in Thailand. Hatyai Journal, 12(2).
DuFour, R. (2007). Professional learning communities: a bandwagon, an idea worthconsidering, or our best hope for high levels of learning?. Middle School Journal (J1), 39(1).
Hord, S.M., Roussin J, L., & Sommers, W.A. (2010). Guiding professional learning communities: inspiration, challenge, surprise, and meaning. California Corwin Press.
Lantern of education. (2020). A lamp of education. Retrieved December 14, 2019, from https://www.posttoday.com/kingbhumibol/thebelovedking/8.
Martin, M. (2011). Professional learning communities. In contemporary issues in learning and teaching. London: SAGE Publication Ltd.
Sergiovanni, T. (1994). Building Community in Schools. San Francisco, CA: Jossey Bass.
Stoll, L., & Louis, K.S. (2007). Professional Learning Community. New York, NY: Open University Press.
Teacher Development and Basic Education Personnel Office. (2017). PLC Process Control Board Training Manual "Professional Learning Community" to educational institutions atthe educational district office. Bangkok.